ลักษณะของงานที่ทำ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ จะมีรองกุ๊กใหญ่ หรือรองหัวหน้าแผนกครัว (Second Chef, Sus Chef) ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยงานในด้านต่างๆ หัวหน้าพ่อครัว หรือหัวหน้าผู้ปรุงอาหาร ปฏิบัติงานตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. จัดตารางเวลา และควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานในครัว ระดับหัวหน้าหน่วยแต่ละแผนก (Chef de Partie–เชฟ เดอ ปาร์ตีย์) เช่น หัวหน้าหน่วยผัก หัวหน้าครัวขนมอบ หัวหน้าครัวอบ–ย่าง หัวหน้าครัวเย็น หัวหน้าหน่วยปลา หัวหน้าหน่วยซ้อส กุ๊กหมุนเวียน ผู้ช่วยกุ๊ก กุ๊กฝึกหัด และพนักงานทำความสะอาดในครัว เป็นต้น (โรงแรมแต่ละแห่ง อาจเรียกตำแหน่งต่างๆ ไม่เหมือนกัน)
2. จัดการดูแลงานด้านเอกสาร ตลอดทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร และกำหนดเมนูอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
3. ควบคุมดูแลการใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
4. ในบางครั้งอาจต้องปรุงหรือทำอาหารเองบ้างเมื่อบุคลากรไม่พอกับจำนวนของแขก และต้องสามารถทำงานได้ทุกระดับ
5. ควบคุมดูแลต้นทุนการผลิต
6. ควบคุมดูแลห้องครัวให้ถูกสุขลักษณะอนามัยตามมาตฐานสากลที่กระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลกกำหนด
7. สามารถบริหารงานภายใต้สภาวะความกดดัน และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เมื่อต้องประกอบอาหารจัดเลี้ยงคน ตั้งแต่ 500 – 4,000 คน โดยใช้บุคลากรเท่าเดิม
8. สามารถถ่ายทอดความรู้ ฝึกอบรมพนักงาน และฝึกทักษะเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนได้อย่างสม่ำเสมอ
9. สามารถบริหารและดูแลทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างทั่วถึง เพื่อรักษาและป้องกันการสูญเสียบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพให้กับองค์กรอื่น
สภาพการจ้างงาน
ผู้ประกอบอาชีพนี้ จะได้รับค่าจ้างตามความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งอาจได้รับการว่าจ้างจากโรงแรมระดับสี่ดาว หรือห้าดาว หรือภัตตาคารขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง บางครั้งอาจมีการแย่งตัวผู้ประกอบอาชีพนี้ เนื่องจากผู้บริโภคติดใจฝีมือและรสชาติการปรุงอาหารมากกว่าการบริการ ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพนี้จึงได้รับเงินเดือนในระดับสูงมากประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป รวมทั้งได้รับสวัสดิการ และค่าตอบแทนพิเศษต่างๆ รวมถึงครอบครัว ตามมาตรฐานสากล ทำงานวัน 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน สามารถเลือกวันหยุดได้
สภาพการทำงาน
ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบอาชีพนี้ จะต้องยืนหรือเดินขณะทำงาน โดยแบ่งเวลาทำงานในแต่ละวันเป็น 2 ผลัดๆ ละ 8 – 10 ชั่วโมงต่อวัน และขณะปฏิบัติงานจะต้องใส่เครื่องแบบพ่อครัวอย่างรัดกุมเหมาะสมเพื่อป้องกันความร้อนและสุขอนามัยในการประกอบอาหาร โดยใส่หมวก รองเท้าส้นเปิด และถุงเท้า
ปัจจุบัน ครัวอาหารมีลักษณะเป็นครัวเปิด หรือเรียกว่าเป็นครัวเอ็นเทอร์เทน ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องทำหน้าที่ชิมรสชาติอาหาร และจะต้องควบคุมปริมาณอาหารที่ต้องชิมเพื่อรักษาน้ำหนัก และทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นและจะต้องควบคุมปริมาณอาหารว่าผู้ประกอบอาชีพนี้มีสุขภาพที่ดี
คุณสมบัติผู้ประกอบอาชีพ
1. มีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ระดับประกาศนียบัตร ประโยควิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยาศาสตร์การอาหาร คหกรรมศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร ฯลฯ หรือผ่านการอบรมจากสถาบันสอนอาหารในต่างประเทศ
2. มีใจรักในอาชีพ และรักการให้บริการ
3. มีความชำนาญและมีประสบการณ์การทำงานในสายงานอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป
4. มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษได้ดี
5. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และนายจ้าง
6. มีระเบียบวินัยทั้งในการทำงานและการชิมอาหาร ไม่ดื่มแอลกอฮอลล์ขณะปฏิบัติ
7. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีความคล่องตัวในการทำงาน
8. รักความสะอาดทั้งอนามัยส่วนบุคคลและส่วนรวม
9. มีวิสัยทัศน์ และมีทัศนคติที่ดี
10. มีมนุษยสัมพันธ์ดี และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้
11. สามารถบริหารจัดการต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ดี ตลอดทั้งการจัดสรรทรัพยากรบุคคลและวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสม
12. มีความกระตือรือร้น ไม่ดูดาย และสามารถทำงานได้ทุกอย่าง
13. ควรมีความสูงตั้งแต่ 155 เซนติเมตร สำหรับเพศหญิง และ 165 เซนติเมตร สำหรับเพศชาย โดยมีน้ำหนักเป็นสัดส่วนกับความสูงตามมาตรฐานสากล
ผู้ที่สนใจในอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้
ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ หรือสายอาชีพ หรือเทียบเท่า แล้วเข้ารับการอบรมหลักสูตรการทำอาหาร จากโรงเรียนหรือสถาบันต่างๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยาฐานะ หรือสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ที่เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คหกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาวิชาการจัดการครัวและภัตตาคาร ภาควิชาการโรงแรม คณะอุตสาหกรรมบริการ หรือวิทยาลัยดุสิตธานี ที่เน้นการส่งนักศึกษาฝึกงานในโรงแรม และสายการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 400 แห่ง เป็นเวลา 1,000 ชั่วโมง โดยนักศึกษาผู้เข้าเรียนจะได้ศึกษาหลักสูตร การจัดการครัวและภัตตาคารอย่างเป็นระบบได้ตามมาตรฐานสากล ศึกษาวิชาเกี่ยวกับการประกอบอาหารตะวันตก การประกอบอาหารเอเชีย การวางแผนและการจัดเมนู รวมถึงการควบคุมต้นทุนการผลิต
โอกาสในการมีงานทำ
ส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 – 2549 ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งสร้างงานและกระจายรายได้ใหม่ที่สำคัญของประเทศโดยมุ่งสนับสนุนภัตตาคารและร้านอาหาร ให้มีมาตรการควบคุมดูแลด้านมาตรฐานและสุขอนามัยของอาหาร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การจัดงานเทศกาลอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งมีนโยบายให้ไทยเป็นครัวของโลก ตลอดจนกำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารไทย ต้องมีหัวหน้าพ่อครัวเป็นคนไทยเท่านั้น จึงทำให้หัวหน้าพ่อครัว หรือหัวหน้าผู้ปรุงอาหาร ที่เป็นคนไทยเป็นที่ต้องการของภัตตาคารอาหารไทยทั่วโลกซึ่งมีจำนวนนับหมื่นแห่ง โดยภัตตาคารแห่งหนึ่งต้องมีหัวหน้าพ่อครัว 2 คนเพื่อผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน ปัจจุบันมีร้า