จะเห็นได้ว่า Research) ซึ่งตามแนวคิดนี้มีความเชื่อว่าได้ ครอบครัวหรือชุมชน หรือชุมชนสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้เอง เป็นกรอบแนวคิดที่ผู้วิจัยนักพัฒนา ทั้งด้านกลุ่มผู้นำความเป็นอยู่สภาพทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมประเพณีการเมืองแลระบบต่างๆของชุมชนที่เชื่อมโยงกับระบบใหญ่รวมถึงสภาพปัญหาความต้องการของชุมชน สื่อเขมณัฏฐ์มิ่งศิริธรรม( ได้กล่าวไว้ว่าสื่อสังคมหรือสื่อสังคมออนไลน์หมายถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวต่างๆเหตุการณ์บทความประสบการณ์รูปภาพวิดีโอและเพลงแล้วนำมาแบ่งปันเนื้อหาข้อมูลข่าวสารประสบการณ์และพูดคุย ทั้งข้อความภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวเสียง สรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่1) สื่อร่วมกันและ5) โดยมีรายละเอียดดังนี้1 เว็บ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นบล็อกเช่นเรียนGotoKnow, เป็นต้น2 เครือข่ายสังคมหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ การส่งข้อความการส่งอีเมล์การอัปโหลดวิดีโอเพลง เป็นต้น จะเห็นได้ว่า กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม SLP เป็นกระบวนการในการค้นหาปัญหาและแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหานั่นเอง ซึ่งเป็นลักษณะเช่นเดียวกับกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งตามแนวคิดนี้
มีความเชื่อว่า ถ้าประชาชนนำเอากระบวนการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปใช้แก้ไขปัญหาให้กับตนเอง ครอบครัว หรือชุมชน โดยหาทางเลือกที่เหมาะสมที่จะทำให้ตนเอง หรือชุมชน สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้เอง ก็จะเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชนได้ด้วยตนเอง
เทคนิคในการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนเหล่านี้ เป็นกรอบแนวคิดที่ผู้วิจัย นักพัฒนา และผู้ที่จะเข้าไปศึกษาชุมชนพึงพิจารณาเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในสภาพของชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งด้าน กลุ่ม ผู้นำ ความเป็นอยู่ สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี การเมือง แลระบบต่างๆ ของชุมชนที่เชื่อมโยงกับระบบใหญ่ รวมถึงสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาชุมชนต่อไป
Social Media
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม.(2553). ได้กล่าวไว้ว่า Social Media หรือ สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลหรือซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของระบบเว็บหรือเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม ที่มีผู้สื่อสารจัดทำขึ้นโดยที่ผู้เขียนจัดทำขึ้นเองหรือพบเจอสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวต่างๆ เหตุการณ์ บทความ ประสบการณ์ รูปภาพ วิดีโอและเพลง แล้วนำมาแบ่งปัน เนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร ประสบการณ์ และพูดคุย ให้ผู้ใช้ในโลกออนไลน์ในเครือข่ายของตนได้รับรู้ ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง กับคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพรวมถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
Social Media ที่ใช้งานกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท สรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ที่สามารถนำประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้ แก่ 1) Blog 2) Social Networking 3) Microblog 4) Media Sharing และ 5) Social News and Bookmaking โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. Blog มาจากคำเต็มว่า Weblog บางครั้งอ่านว่า Weblog , Web Log ซึ่ง Blog ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด ผู้ใช้ Blog สามารถเขียนบทความของตนเองและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย Blog เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Blog เช่น Learners, GotoKnow, wordpress,blogger เป็นต้น
2. Social Networking หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้เขียนและอธิบายความสนใจหรือกิจกรรมที่ทำเพื่อเชื่อมโยงความสนใจและกิจกรรมกับผู้อื่นในเครือข่ายสังคมด้วยการสนทนาออนไลน์ การส่งข้อความ การส่งอีเมล์ การอัปโหลดวิดีโอ เพลง รูปถ่ายเพื่อแบ่งปันกับสมาชิกในสังคมออนไลน์ เป็นต้น เครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Facebook,Hi5, Bebo, MySpace และ Google+ เป็นต้น
ตัวอย่าง การใช้ Facebook ในการจัดการเรียนการสอน
Facebook (เฟซบุ๊ค) คือ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัวเพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อน และแลกเปลี่ยนข้อความ ติดต่อสื่อสาร ตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์ รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก สนทนาแบบโต้ตอบทันที นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออื่นๆ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้งานเฟซบุ๊ค ผู้ใช้จะคอยอัพเดทแบ่งปันข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มที่อยู่ในเฟซบุ๊คหรือแม้แต่ผู้ใช้เว็บไซต์อื่นที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ค ยังสามารถสื่อสาร ส่งต่อหรือแบ่งปันข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำให้สังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊คเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางและเข้มแข็งมาก
ในการนำเฟซบุ๊คมาใช้ เพื่อกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นสามารถนำเฟซบุ๊คมาใช้การแบ่งปันเรื่องราว ความรู้ แง่คิด ประสบการณ์ ทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่น สามารถนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ได้ การเรียนรู้รวมกันผ่านเฟซบุ๊คทำได้โดยสร้างกลุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วมกัน และสามารถนำ เฟซบุ๊คไปใช้ใน การจัดการเรียนการสอน โดยใช้เป็นกิจกรรมหลัก หรือการเสริมบทเรียน โดยการสร้างเป็นกลุ่มเรียนแล้วนำเสนอ สื่อการสอนในรูปแบบของเนื้อหา บทความ สื่อมัลติมีเดีย การนำเสนองาน ผลงาน ฯลฯ ทำให้เกิดความน่าสนใจเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ครูและนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการพูดคุย แสดงความคิดเห็น การสอบถาม การให้คำแนะนำและคำปรึกษา ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้ที่มีโอกาสเรียนรู้มากย่อมได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าเฟซบุ๊ค
สามารถสร้างประโยชน์โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อีกช่องทางหนึ่ง
3. Micro Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียน ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความได้สั้นๆ ตัวอย่างของ Micro Blog เช่น Twitter, Pownce, Jaiku และ tumblr เป็นต้น โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด กล่าวคือสามารถเขียนข้อความแต่ละครั้งได้เพียง 140 ตัวอักษร
ตัวอย่าง การใช้ Twitter ในการจัดการเรียนการสอน
Twitter (ทวิตเตอร์) คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog สั้น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Micro-Blog ซึ่งสามารถให้ผู้ใช้ส่งข้อความของตนเองให้ ผู้อื่นที่ติดตามทวิตเตอร์ของผู้เขียนอยู่นั้นสามารถอ่านได้ และผู้เขียนเองก็สามารถอ่านข้อความของเพื่อน หรือคนที่กำลังติดตามผู้เขียนอยู่ได้ ซึ่งทวิตเตอร์ก็ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภท Social Media ด้วยเช่นกัน ในรูปแบบของทวิตเตอร์นี้ ที่เรียกว่าเป็น blog สั้นก็เพราะว่าทวิตเตอร์ให้เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึ่งข้อความนี้เมื่อเขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า Profile ของผู้เขียน และจะทำการส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower) โดยอัตโนมัติ โดยสามารถใช้ได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือจากโทรศัพท์มือถือ
ในการนำทวิตเตอร์มาใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม โดยผู้ส
การแปล กรุณารอสักครู่..