เรามาพิเคราะห์กันในกฎหมายลักษณะละเมิด 420-452 แค่ 32 มาตราเท่านั้นและ นอกเหนือประมวลแพ่ง แล้ว เรายังต้องไปดูพระราชบัญญัติความละเมิดของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่และข้อสัญญาไม่เป็นธรรม และล่าสุดพระราชบัญญัติ วิธีผู้บริโภค
ก็มองว่าเรามีกลไกการเยียวยามากขึ้นดีกว่าจะไปมองว่าต้องศึกษามากขึ้น การสอบเนฯเป็นเรื่องง่าย ถ้าเราพิจารณาดูคำถามเป็นเรื่องที่ทุกคนที่กำลังศึกษาอยู่ตอบได้ ไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องกว้างเสียมากกว่า อยู่ที่ว่าเราจะมีวินัยกับชีวิตหรือไม่ เท่านั้น
เรียนภาคค่ำ น่าชื่นชมเพราะส่วนมาก เป็นผู้ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยได้ ในเวลาทำงานแม้หัวหน้าไม่ประสงค์ให้นำหนังสือมาอ่านแต่เราก็ทำได้โดยชอบ คือการ ท่องตัวบท
สิ่งที่เรายังอ่อนอยู่คือ การฝึกฝนเรื่องการตอบข้อกฎหมาย ซึ่งขาดอยู่มาก
การประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย ในการที่มีเวลาตรวจเพียงน้อยนิดโดยเฉพาะระดับผู้ช่วยฯ ที่สำคัญคือเหตุผลที่มีน้ำหนักคือ เหตุผลในตัวบทกฎหมาย
ท่องตัวบทเป็นวิธีการทางอ้อม ที่ทำให้เราเชิด ออกมาว่าสำนวนดีเพราะเป็นการที่คนตรวจคุ้นเคย
คนตรวจก็ทึ่งเพราะว่าต่างคนอื่นที่เอาภาษาพูดมาตอบ เวลาทำงานใช้ตัวบทมาท่อง ท่องไม่ต้องใช้สมาธิมากเท่าไหร่ นั่นคือเคล็ดลับของการได้คะแนน 8 – 9
เพราะฉะนั้นท่องตัวบทท่องไปเลยแล้วเวลาอ่านคำบรรยายซึ่งต้องใช้สมาธิ คุณต้องยอม ไม่ตื่นเช้า ก็นอนดึก ส่วนตัวบทใช้เวลาที่ไม่มีคุณภาพ เอามาอ่านตัวบทซะ ทุกครั้งควรเอาเวลาอ่านหนังสือพิมพ์เอาตัวบทไปจับ
เวลามีคำพิพากษา ก็อธิบาย การอธิบายให้เพื่อนฟังเป็นการฝึกการคิดการเขียน การตอบปัญหาข้อกฎหมาย
กฎหมายเป็นเรื่องที่ยิ่งพูดยิ่งเผยแพร่ยิ่งแตกฉาน
สิ่งที่ควรทำก็คือต้องมีการออกกำลังกาย การสอบเนฯไม่ได้วัดความปราชเปรื่องเลยแต่เป็นการวัดความมีวินัยของคน
วันนี้ก็จะพูดเรื่องการศึกษากฎหมายในเนฯก่อน ท่านไม่จำเป็นต้องวิจารณ์คำพิพากษาเลยเพียงต้องเข้าใจเหตุผลของกฎหมาย และแสดงให้เห็นก็เพียงพอ
ท่านจะหาคำพิพากษาฏีกาที่ใหม่ที่สุดได้อย่างไร การใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นสิ่งจำเป็นของนักกฎหมาย สามารถรวมฏีกาได้ อยู่ในเว็บไซต์ของศาลฏีกา ในเรื่องฏีกา สามารถค้น ได้จากมาตราที่ท่านต้องการหรือแม้กระทั่งการค้นคำ เพราะฉะนั้นตลาดของการซื้อรวมฏีกาอาจจะหมดแล้วถ้าท่านใช้ คอมพิวเตอร์ และข่าวคราวก็สามารถค้นได้ จากเวปไซต์ เพียงแต่ท่านต้องติดตามได้ง่ายแล้ว ท่านต้องก้าวมาสู่การเรียนกฎหมายสมัยใหม่แล้ว
ความรับผิดเพื่อละเมิดใครต้องรับผิดบ้าง ต่างกับกฏหมายอาญาที่มีวัตถุประสงค์ผุ้กระทำผิดจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทางจิตใจ
แต่เรื่องละเมิดเป็นเรื่องเยียวยา ฉะนั้นบุคคลที่ไม่ได้เป็นผุ้กระทำโดยแท้ ก็อาจจะต้องรับผิด เช่นนายจ้าง หน่วยงานของรัฐเป็นต้น
ดูมาตรา 429 บุคคลที่เป็นผู้เยาว์ หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิด ไม่ใช่เรื่องการลงโทษ แต่เป็นเรื่องของการเยียวยา อีกประการที่น่าสนใจ คือ เราก็ต้องวิเคราะห์ว่าการกระทำเป็นละเมิดไหม ใครต้องรับผิด
ปัญหาของการสอนละเมิดในไทยคือวัตถุประสงค์ในการฟ้องคือค่าสินไหมทดแทน เหมือนกับแพทย์มีไว้รักษาการเจ็บป่วย ละเมิดเยียวยาการเจ็บป่วย ในการแพทย์สิ่งที่ดีกว่าคือการป้องกัน ในทางกฎหมายก็มีเช่นการขอคุ้มครองชั่วคราว ปัจจุบันก็มีและมักขอคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน
แต่ปัญหาของวิแพ่งมันต้องมีการโต้แย้งสิทธิเสียก่อน จึงจะขอคุ้มครองเสียก่อน จนพัฒนาการล่าสุดเช่น ทรัพย์สินทางปัญญา หรือ พ.ร.บ คุ้มครองผู้บริโภค
กฎหมายต้องพัฒนาไปอย่ากลัวที่จะรับรู้กฎหมายใหม่ และมักจะออกกฎหมายใหม่ กันด้วยในการสอบ
ละเมิดทุกเรื่องก็อาจจะเริ่มที่ 420 ได้ แต่อย่าเอา 420 มาตอบทุกเรื่องเพราะเรื่อง 420 เป็นหลักทั่วไปและ ในกฎหมายพยานมันเป็นภาระการพิสูจน์
เราจะไม่ใช้เวลามาก เพราะเป็นเรื่องที่สันนิฐานว่า ต้องทราบกันแล้ว และเป็นมาตราที่คุ้มค่าแก่การท่องด้วย
จงใจ อะไรคือจงใจ ก็หาสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุด คือ เจตนา
การเรียนกฎหมายเหมือนการต่อจิ๊กซอร์ แต่ถ้าเราติดตรงไหน ก็ผ่านไปเลย เพราะมีโอกาสมากที่มันจะไม่ออกข้อสอบและการเรียนที่เรามีเนื้อหาเยอะมากไม่มีเวลาที่เราจะไปหยุดกับเรื่องๆเดียว
จงใจ กับ เจตนา อย่างน้อยก็เขียนต่างกัน แต่เราก็เอามาปรับเข้าด้วยกันได้
จงใจต้องเป็นการกระทำที่ สามารถควบคุมการกระทำ และรู้ถึงผลแห่งการกระทำนั้น
เสียหายแก่ชีวิต พอความเสียหายแก่ชีวิตมันต่างจากร่างกายต่างจากอนามัยอย่างไร
ค่าเสียหายที่สำคัญอันหนึ่งคือค่าเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่นความเสียใจ ความโศกเศร้าเสียใจ เมื่อไม่ใช่ตัวเงินก็ดู 446 ว่าเรียกได้หรือไม่ เช่นเค้าจะใช้มากกับศัลยกรรมตกแต่ง
เรื่องการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ยิงปืนเป็นร้อยๆนัดทำความเสียหายกับตู้เย็น เรามาดูเป็นความเสียหายแก่อะไรบ้าง เสรีภาพหรือไม่ เป็นการกระทำของใครเจ้าพนักงานของรัฐ ฟ้องใคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรียกอะไรค่าเสียหายต่อการที่รัฐทำให้เกิดความเสียหายเป็นความเสียหายที่เกิดต่ออำนาจรัฐ เป็นความเสียหายที่เกิดจากเสรีภาพ จริงๆใครเป็นคนเสีย ประชาชนที่เสียภาษี
แล้วไล่เบี้ยได้หรือไม่ ก็ดูพรบ ความรับผิดละเมิดของเจ้าหน้าที่ ถ้ามีคำว่าร้ายแรงก็จะมี่ผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ที่เดือดร้อน ต้องไปเสียค่าเสียหาย เป็นการทำให้วิชาละเมิดก้าวหน้าไปตามกฎหมายของอารยะ ต่างๆ
421 เป็นเรื่องการใช้สิทธิที่จะมีความเสียหายต่อคนอื่น ดูว่าดูตำรายุคใด ยุคเก่าก็ใช้ ว่า การใช้สิทธิเกินส่วน มักโยงกับมาตรา 5
423 เป็นเรื่องชื่อเสียงเป็นเรื่องกล่าวหรือไขข่าวที่ฝ่าฝืนต่อความจริง ไอ้คำว่าเป็นที่เสียหายต่อการทำมาหาได้ เป็นถ้อยคำโบราณ ปัจจุบันก็เป็นการเสียหายทางเศรษฐกิจ
กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความที่ฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง ฉะนั้นถ้ากล่าวความจริง ก็ไม่เป็นตาม 423 แต่อาจเข้า 420ตรงๆก็ได้นิ
บางครั้งเรื่องจริงยิ่งเสียหายก็มีนิ บางครั้งเป็นเรื่องส่วนตัว หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
423 โดยเฉพาะวรรค 2 มีฏีกาที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่กล่าวอ้างมาก เป็นเรื่องกล่าวไขข่าวในเรื่องของการรู้หรือไม่รู