- เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ อาธิเช่น
- เศรษฐกิจพอเพียงภายใรบ้าน จะยกตัวอย่าง ครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดังนี้
1.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน แบ่งให้เพื่อนบ้านบ้าง เหลือจึงขายไป
2.พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง
3.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ชีวิต โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวันนี้ เศรษฐีวันหน้า”
4.เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย 3 ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด เป็นต้น
5.ฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดละควาฟุ่มเฟือย
- เศรษฐกิจพอเพียงด้านสังคม ด้านสังคม
ึืคือ
เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งให้เกิดสังคมที่มีความสุขสงบ ประชาชนมี
ความเมตตาเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ต่างคนต่าง
อยู่ มุ่งให้เกิดความสามัคคีร่วมมือกัน เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้
โดยปราศจากการเบียนเบียนกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน การ
มุ่งร้ายทำลายกัน
- เศรษฐกิจภายในโรงเรียบน คือสามารถเป็นประโยชน์ แก่ตนและส่วนรวม
1. การตั้งใจเรียน มีการดำเนินงานและวางแผนในการเรียนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
2. ช่วยกันประหยัดและอนุรักษ์ทรัพยากรในโรงเรียน เช่น การใช้น้ำประปาและไฟฟ้าในโรงเรียนอย่างประหยัด รู้คุณค่า ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น
หรือ ช่วยกันดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ และใช้ของส่วนรวมอย่างทะนุถนอม และไม่ทำลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเล่นต่าง ๆ ่ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น ทิ้งขยะลงในถังที่จัดไว้ให้ และไม่ทำให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น ช่วยกันดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน ไม่ขีดเขียนภาพหรือข้อความใด ๆ บนโต๊ะ เก้าอี้ ฝาผนัง อาคารเรียน ประตู ห้องน้ำ
3. การทำการเกษตรเพื่อเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว พืชไร่
ไม้ผลไว้บริโภค การเลี้ยงเป็ดและไก่ การเพาะเห็ด การขุดบ่อเลี้ยงปลา
4. การใช้เงินอย่างประหยัด ซื้อของที่ไม่ฟุ่มเฟือย
5. การประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีแบบชาวบ้านมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น
การทำปุ๋ยหมักธรรมชาติไว้ใช้ปลูกพืชผักในโรงเรียน
การทำเชื้อเพลิงช่วยในการหุงต้ม เช่น การเผาถ่าน เป็นต้น
การใช้สมุนไพรช่วยกำจัดศัตรูพืช
6. การรวมกลุ่มสหกรณ์ในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน มีแนวทางที่จะเพิ่มพูนรายได้โดยการนำสินค้าของสมาชิกมาจำหน่ายในสหกรณ์ และซื้อสินค้าได้ในราคายุติธรรม