1.มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆรวมทั้งสินค้าทดแทนใหม่อื่นๆ
2.ประชาชนมีความตื่นตัวและสำนึกในความรับผิดชอบสังคมจำกัด
รัฐบาลควรผลักดันและสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการใช้งานที่กว้างขวางและเป็นที่ยอมรับ เช่น สนับสนุนโดยการลดหย่อนภาษีให้กับผู้ใช้พลังงานทดแทน
3.ขาดนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่มีความเป็นไปได้
ถ้ารัฐบาลให้เงินอุดหนุนในด้านพลังงานทดแทนโดยเฉพาะ จะส่งผลให้ปริมาณอุปทานเพิ่มขึ้น
4.รัฐบาลขาดการสนับสนุนทุนมนุษย์(human capital) ความรู้ในสายวิชาชีพ (Technology knowledge) การเรียนการสอนและการวิจัยพัฒนา
ทำให้การวิจัยและการพัฒนาไปถึงขั้นสร้างวัตนกรรมใหม่ๆมีน้อย ถ้ามีเทคโนโลยีสูงขึ้น ทำให้ยิ่งผลิตพลังงานได้มากขึ้น ทำให้ปริมาณอุปทานเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรละเลยในด้านนี้
5.ราคาสูงจึงใช้เงินลงทุนสูง
ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนมีต้นทุนสูงกว่า ระบบผลิตไฟฟ้าปกติเนื่องจากเป็นสินค้าใหม่ของตลาดและต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งถ้าราคาต้นทุนการผลิตสูง จะส่งผลให้ปริมาณอุปทานลดลง
สรุป หากประเทศไทยยังใช้พลังงานสิ้นเปลือง ในอนาคตเราอาจต้องนำเข้าพลังงานที่มีราคาสูง ทำให้เศรษฐกิจประเทศแย่ลง เพราะ เมื่อเงินไหลออดนอกประเทศ มากกว่า เงินไหลเข้าประเทศ จะทำให้เกิด ดุลการชำระเงินขาดดุล เศรษฐกิจก็จะไม่ดี เกิดเงินฝืดตามมา ทุนสำรองระหว่างประเทศจะลดลง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้นเราจึงต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด