ศึกษาผลของระบบอนุรักษ์ดินและน้ำระยะยาวต่อการกร่อนดินและการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังดินเนื้อหยาบและดินเนื้อละเอียดในแปลงเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์ วิเคราะห์หาความแปรปรวนทางสถิติแบบ 1 ปัจจัย เพื่อหาอิทธิพลของวิธีการประกอบด้วย 4 วิธีการ คือ การไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำน้ำบนดินเนื้อละเอียด การมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินเนื้อละเอียด การไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินเนื้อหยาบ และการมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินเนื้อหยาบ เพื่อศึกษาผลของระบบอนุรักษ์ดินและน้ำต่อการป้องกันการกร่อนดินในพื้นที่ เปรียบเทียบการแจกกระจายและการสะสมคาร์บอนระหว่างพื้นที่ที่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำระยะยาวกับพื้นที่ที่ไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคาร์บอนที่แจกกระจายในพื้นที่กับสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี เปรียบเทียบระหว่างดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดเนื้อละเอียดกับเนื้อหยาบ
พื้นที่ซึ่งมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินเนื้อละเอียด ในพื้นที่ตอนบนจะมีแนวโน้มที่เกิดการสะสมของคาร์บอนอินทรีย์มากกว่าพื้นที่ตอนล่างและมีช่วงพิสัยที่แคบมีค่าเฉลี่ย 21.60 กรัมต่อกิโลกรัม มีค่ามากกว่าพื้นที่ซึ่งไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินเนื้อละเอียดมีค่าเฉลี่ย 18.13 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนพื้นที่ซี่งมีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินเนื้อหยาบจะมีปริมาณคาร์บอนอินทรีย์สะสมในพื้นที่ตอนบนและตอนล่างใกล้าเคียงกันและมีช่วงพิสัยที่กว้างมีค่าเฉลี่ย 6.51 กรัมต่อกิโลกรัม มีค่ามากกว่าพื้นที่ซึ่งไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินเนื้อหยาบ ซึ่งจะมีแนวโน้มของการสะสมปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในพื้นที่ลาดเทตอนล่างมากกว่าพื้นที่ลาดเทตอนบนมีช่วงพิสัยที่กว้างมีค่าเฉลี่ย 5.45 กรัมต่อกิโลกรัม และ ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินเนื้อละเอียดทำให้มีการสูญเสียดินน้อยที่สุดและได้ผลผลิตของมันสำปะหลังสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิ