งานวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับบริบท คือ การสามารถนำไปใช้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในการประเมินภาวะเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ เช่น 1.แบบบันทึกช่วงอุณหภูมิร่างกาย 2. แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของ Braden มีทั้งสิ้น 6 ด้าน ได้แก่ การรับรู้ความรู้สึก ความชื้นของผิวหนัง การมีกิจกรรม การเคลื่อนไหวร่างกาย ภาวะโภชนาการ และการมีแรงเสียดทาน แรงเฉือน 3.แบบประเมินกิจกรรมการพยาบาลที่เกี่ยวข้องการเกิดแผลกดทับ (nursing intervention checklist) เป็นการประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ตัวผู้ป่วย ได้แก่ พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ใส่ผ้าอ้อมห่อก้น ทาโลชั่นที่ผิวหนัง ใช้อุปกรณ์ช่วยลดแรงกดทับต่างๆ เช่น ที่นอนลม ถุงมือ ใส่น้ำรองบริเวณปุ่มกระดูก เป็นต้น 4. แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลเช่น อายุ เพศ สวัสดิการ ผู้ดูแล ดัชนีมวลกาย และการวินิจฉัยโรค 5. แบบประเมินสภาพผิวหนัง (skin assess-ment tool) ของ Bergstrom แบบประเมินนี้ใช้ตรวจสภาพผิวหนังบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น
ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า การพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล สามารถลดโอกาสการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าในการนำมาใช้ในหอผู้ป่วย