ชื่อเรื่อง การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ : แค้มป์คนงานก่อสร้างโรงพยาบาลแม่อาย
ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่วันที่ 23 - 24 สิงหาคม พ.ศ.2558
การสอบสวนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษแค้มป์คนงานก่อสร้างโรงพยาบาลแม่อาย ตำบลมะลิกา อำเภอ แม่อาย จังหวัดเชียงใหม่วันที่ 23 - 24 สิงหาคม พ.ศ.2558 วันที่ 17 สิงหาคม 2558 เวลา 09.30 น สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่ ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พบการระบากของโรคอาหารเป็นพิษ ในแค้มป์คนงานก่อสร้างโรงพยาบาลแม่อาย ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 13 สิงหาคม 2558 เวลา 20.00 น. ด้วยงานระบาดวิทยา โรงพยาบาลแม่อาย ได้รับแจ้งจากพยาบาลตึกผู้ป่วยนอกว่าพบผู้ป่วย เป็นคนงานก่อสร้างโรงพยาบาลแม่อาย มาด้วยอาการ ไข้ ปวดบิดท้อง ถ่ายเหลว รับเป็นผู้ป่วยใน จากการสอบสวนโรคช่วงเวลา 20.00 น.-21.00 น. พบผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 7 ราย เป็นผู้ป่วยนอก 6 ราย และผู้ป่วยใน 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วยอาการ ไข้ต่ำๆ ปวดบิดท้อง ถ่ายเหลว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยทุกรายให้ประวัติว่าและให้ประวัติว่ารับประทานอาหารที่ปรุงจากเนื้อหมูที่ซื้อมาชำแหละแบ่งกันในแค้มป์คนงานก่อสร้าง
ทีมสอบสวนโรคดำเนินการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 14-23 สิงหาคม 2558 การสอบสวนใช้การศึกษาเชิงพรรณนา โดยการ รวบรวมข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยจากการทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่รพ.แม่อาย รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวกับประวัติการรับประทานอาหาร โดยใช้แบบสอบสวนโรคโรคอาหารเป็นพิษเฉพาะรายที่พัฒนาเพื่อการสอบสวน และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในแค้มป์คนงานก่อสร้างโรงพยาบาลแม่อาย (Active case finding) ได้กำหนดนิยามผู้ป่วย ดังนี้ ผู้ป่วย (Case) หมายถึง ผู้ที่อาศัยอยู่ในแค้มป์คนงานก่อสร้างโรงพยาบาลแม่อาย ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอาการถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลว ถ่ายมูกเลือก ในระหว่างวันที่ 8 – 17 สิงหาคม 2558 การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ โดยศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์รูปแบบ Retrospective Cohort study เทียบกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ Dose Respond ของปัจจัยต่างๆ
การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ในวันที่ 12 – 14 สิงหาคม 2558 2542 เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม non-typhoidal salmonellae ประกอบด้วย Salmonella Group B มีผู้ป่วยจำนวนที่เข้าได้กับนิยามจำนวนทั้งสิ้น 32 ราย โดยเป็นเพศชายจำนวน 17 ราย และเพศหญิงจำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละใกล้เคียงกันที่ 58.62 และ 53.57 กลุ่มวัยแรงงานที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงที่สุดได้แก่กลุ่มอายุ 25-29 ปีคิดเป็นร้อยละ 70.00 รองลงมาได้แก่กลุ่ม 20-24 30-34 35-39 ปี คิดเป็นร้อยละ 69.23 50.00 50.00 ตามลำดับ อาการของผู้ป่วยที่พบสูงที่สุดได้แก่ ถ่ายเหลวคิดเป็นร้อยละ 96.88 รองลงมาได้แก่อาการ ปวดศีรษะ ถ่ายเป็นน้ำ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดบิด คิดเป็นร้อยละ 93.75 93.75 65.50 59.38 ตามลำดับ จากการสอบสวนสาเหตุการระบาดพบว่าการเกิดโรคน่าจะเกิดจากเชื้อ salmonellae ที่ปนเปื้อนในเนื้อจากกระบวนการชำแหละ และการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารและสุขวิทยาส่วนบุคคล ซึ่งพบการปนเปื้อนเชื้อในภาชนะประกอบอาหาร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในช่วงวันที่ 12 – 14 สิงหาคม 2558 แหล่งสัมผัสโรคร่วมกันคือ รับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูที่ชำแหละ และแบ่งร่วมกันในวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ระยะเวลาเริ่มป่วยส่วนมากเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกัน พบผู้ป่วยมากที่สุดว่ามีระยะฟักตัวของโรค 19 - 22 ชั่วโมง ซึ่งอยู่ในช่วงระยะฟักตัวของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อ Salmonella ที่พบบ่อยคือ 6-72 ชั่วโมง (เฉลี่ย 12-36 ชั่วโมง) การระบาดเกิดขึ้น และมีสาเหตุของการระบาดที่แหล่งโรคร่วมกัน แบบ Intermittent source ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งโรคร่วม ในวันที่ 11 สิงหาคม 2558 เวลา 18.00 การสอบสวนโรคในครั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างสงตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากการส่ง Rectal Swab จำนวน 2 ราย ผลคือพบเชื้อ Salmonella spp. เนื้อหมู พบเชื้อ Salmonella spp. ฟองน้ำ พบเชื้อ Salmonella spp. และเขียง พบเชื้อ Salmonella ทำให้สนับสนุนสาเหตุของการเกิดโรคในครั้งนี้ที่เกิดจากเชื้อกลุ่ม non-typhoidal salmonellae การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ปัจจัยมีโอกาสป่วยมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทาน อย่างมีนัยสำคัญสถิติ จำนวนทั้งสิ้น 11 ปัจจัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริโภคหมูที่ซื้อมาชำแหละร่วมกัน มากที่สุดได้แก่ปัจจัย ท่านรับประทานอาหารที่ปรุงจากหมู คิดเป็น 5.35 เท่า รองลงมาได้แก่ รับประทานหมูสุก ปรุงอาหาร จับเนื้อหมู เป็น 35.04 26.56 25.88 เท่าตามลำดับ จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำอาหารจากหมูตัวนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษในครั้งนี้ สนับสนุนด้วยการทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ Dose Respond ของปัจจัยคนที่บริโภคเนื้อหมูจะเห็นว่าปริมาณการกินมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยโดยผู้ที่รับประทานหมูมากกว่า 1 มื้อมีความเสี่ยงเป็น 33.00 เท่าของผู้ที่ไม่ได้รับประทานหมู การควบคุมและป้องกันโรคในการระบาดครั้งนี้ ได้มีการให้สุขศึกษากับผู้ประกอบการเน้นในเรื่องการล้างมือด้วยสบู่หลังออกจากห้องน้ำ ก่อนและหลังสัมผัสเนื้อดิบและก่อนสัมผัสอาหารปรุงสุก และพัฒนาสื่อให้เข้าถึงทุกสัญชาติโดยเฉพาะประเทศเพื่อบ้าน และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
. การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามีการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษอาการและอาการแสดงทางคลินิก เข้าได้กับนิยามของผู้ป่วย ตามเกณฑ์นิยาม โรคติดเชื้อ ของกองระบาดวิทยา มีระยะฟักตัวของโรค ตั้งแต่ 6 - 48 ชั่วโมง มีค่าเฉลี่ย 27 ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับ ระยะฟักตัวของเชื้อ Salmonella spp. ซึ่งมีระยะฟักตัว 6 - 72 ชั่วโมง เฉลี่ย 12 – 36 ชั่วโมง ข้อมูลทางระบาดวิทยาซึ่งจากการศึกษาเชิงพรรณนาและการสอบสวนโรค แสดงให้เห็นว่า โรคดังกล่าวเกิดจากการรับประทานอาหารที่ เป็นปัจจัยเสี่ยง โดยอาหารที่เป็นสาเหตุคือ เนื้อหมูที่ชำแหละแบ่งกันในวันที่ 11 สิงหาคม 2558ซึ่งเป็นการระบาดในลักษณะแหล่งโรคร่วม (Common source outbreak)
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากการส่ง Rectal Swab จำนวน 2 ราย ผลคือพบเชื้อ Salmonella spp. เนื้อหมู พบเชื้อ Salmonella spp. ฟองน้ำ พบเชื้อ Salmonella spp. และเขียง พบเชื้อ Salmonella spp ดังนั้นสรุปได้ว่าสาเหตุของการระบาดของโรคในครั้งนี้ เกิดจากการรับประทานเนื้อหมู ที่มีเชื้อ Salmonella spp. ปนเปื้อนอยู่อาจโดยการชำแหละที่ไม่ถูกต้องจึงเกิดการปนเปื้อน หรือการที่มีรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน และสุขอนา