โทมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ไม่เคยยอมแพ้
โทมัส อัลวา เอดิสัน : Thomas Alva Edison
เกิด วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847 เมืองมิลาน (Milan) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1931 ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลงาน - ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
- เครื่องเล่นจานเสียง
- กล้องถ่ายภาพยนตร์
- เครื่องขยายเสียง
- หีบเสียง
- เครื่องบันทึกเสียง
ชีวิตวัยเด็ก - การศึกษา
เอดิ สันเข้าเรียนในชั้นประถมขณะอายุ 8 ปี เป็นโรงเรียนเล็กๆในโบสถ์ มีนักเรียนเพียง 48 คน มีครูเพียงสองคนคือ นายเอ็งเกิล และนางเอ็งเกิล (Engle) แต่ด้วยความที่เอดิสันมีมีนิสัยสนใจในสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เนื้อหาในตำราคร่ำครึ สิ่งที่เขาสนใจถามครูจึงไม่ใช่เรื่องที่ครูสอน แต่เป็นเรื่องนอกตำรา นายและนางเอ็งเกิล จึงมักเรียกเขาว่าเป็นเด็กที่หัวขี้เลื่อย เมื่อมารดาทราบเรื่อง จึงไปพูดคุยกับคุณครูที่โรงเรียน หลังการพูดคุย เอดิสันต้องออกจากโรงเรียน โดยมารดาของเขาจะเป็นผู้สอนเอดิสันด้วยตนเอง หลังจากเข้าโรงเรียนได้ 3 เดือนเท่านั้น
เอดิสัน ชื่นชอบหนังสือนอกเวลาเล่มหนึ่ง ซึ่งมีภาพและเนื้อหาการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้อ่านทดลองเองได้ เขามีความสนใจที่จะทำการทดลองในหนังสือ ใน ค.ศ. 1857 พ่อและแม่ของเขาจึงสร้างห้องใต้ดินเพื่อให้เอดิสันได้ทำการทดลองต่างๆ ในหนังสือ และเขาก็ได้ทำการทดลองมากมายในห้องใต้ดินนั้นค.ศ. 1859 เอดิสันทำงานหารายได้พิเศษโดยการขายลูกอมและหนังสือพิมพ์บนรถไฟ
เอดิสันเคยถูกให้ออกจากโรงเรียนเนื่องจากว่าเขาไม่สามารถเรียนวิชา คณิตศาสตร์ได้ ครอบครัวของเขาจึงต้องนำเอดิสันไปเลี้ยงดูเองและปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ด้วย ตนเอง ในช่วงอายุ12ปีเขาทำงานเป็นเด็ก เดินข่าวของรถไฟ ครั้ง หนึ่งเอดิสันทดลองเคมีทำให้เกิดเสียงระเบิดไฟไหม้ จนเขากลายเป็นคนหูหนวก โดยสาเหตุของการหูหนวกก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร บางแห่งก็ว่าเขาถูกตบแก้วหูทำให้แก้วหูหนวกและอื้อ บางแห่งว่าเกิดเสียงระเบิดสนั่นทำให้เอดิสันกลายเป็นคนหูหนวก แต่ตามที่เอดิสันแถลง เขากล่าวว่า การที่เขาหูพิการเกิดจากเขาลื่นไถลลงไปใต้ท้องรถไฟจนเกือบจะ ถูกล้อทับ ได้มีคนช่วยเหลือเขาไว้โดยจับหูเขาดึง ขึ้นมาบนรถ
แม่ของเขา ได้เป็นผู้สอนหนังสือ ให้เขาและยอมให้เขาเรียนรู้ด้วยตนเอง กำลังใจจากแม่ ทำให้เอดิสันอ่านหนังสือมากขึ้น เขาสนุกสนานกับการทดลองต่างๆ
ที่เขา อ่านจากหนังสือ ความอยากรู้ อยากเห็น ทำให้เขาได้ทดลองวิทยาศาสตร์ต่างๆ มากมาย แม้การทดลองหลายครั้งจะมีความผิดพลาดและไม่ได้ผล แต่แม่คือผู้ที่พูดให้กำลังใจแก่เอดิสันอยู่เสมอ ปลูกฝังให้เขา มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน เอดิสันมองเห็นความผิดพลาดเป็นบทเรียน มากกว่าจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้เขาท้อถอย
ข้อคิด
เมื่อผู้ช่วยของเอดิสันกล่าวกับเขาว่า “เราทำการทดลองมา 700 ครั้งแล้ว แต่เรายังไม่มีคำตอบ เราล้มเหลวเสียแล้ว” แต่เอดิสันกลับตอบว่า
“เปล่าหรอก เรายังไม่ล้มเหลว เรารู้มากกว่าใครๆ ในโลกในเรื่องนี้ และเรายังรู้อีกว่ามี 700 วิธีที่ไม่ควรทำ อย่าเรียกว่า ความผิดพลาด แต่ให้เรียกว่า เป็นการเรียนรู้”
ความสำเร็จที่เขาได้รับนั้น 10% เกิดจากแรงบันดาลใจ อีก 90% มาจากความทุ่มเท ด้วยหยาดเหงื่อแรงกาย
“ความล้มเหลวหลายๆ อย่างในชีวิต เป็นเพราะคนเราไม่ตระหนักกว่า พวกเขาอยู่ใกล้ความสำเร็จแค่ไหน ตอนที่เขายอมแพ้”