เนื่องจากปัจจุบันนี้มีลูกมะพร้าวที่เหลือจากการทำไปใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมากและลูกมะพร้าวที่เปลือกแห้งสามารถนำมาแปรสภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ การทำปุ๋ยของกล้วยไม้ก็เป็นหนึ่งในประโยชน์ที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ขั้นตอนการนำกาบมะพร้าวมาใส่ในกระถางเป็นงานที่ยุงยากพอสมควรเพราะต้องหั่นกาบมะพร้าวเป็นชิ้นเล็กๆ และการจัดจำหน่ายกาบมะพร้าวที่ยังไม่ผ่านการหั่นขนาด ราคาประมาณ กิโลกรัมละ 2 บาท หากมีการแปรรูปโดยการหั่นให้มีขนาดที่เหมาะสมและนำมาบรรจุในถุงพลาสติก ราคาต่อกิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นมาเป็นกิโลกรัมละ 10 บาท ผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่าควรจะมีเครื่องจักรที่ช่วยในการตัดกาบมะพร้าวให้รวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งาน ทั้งนี้เครื่องจักรจะต้องมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อีกด้วย
ดังนั้นจึงเป็นที่มา ของสิ่งประดิษฐ์เครื่องหั่นกาบมะพร้าว เพื่อใช้ในการเป็นประโยชน์ในการทุนแรง ความสะดวกสบาย ต่อการใช้งาน ทางการเกษตรและแปรรูปทางเกษตรกรรม การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์เครื่องหั่นกาบมะพร้าว และมุ่งค้นหาประสิทธิภาพของเครื่องเครื่องหั่นกาบมะพร้าว ซึ่งมีต้นกำลังมอเตอร์ขนาด 7.5 แรงม้า ส่งกำลังด้วยสายพานร่องวี ทดรอบโดยใช้ล้อสายพานและเกียร์ทด ตัวเครื่องประกอบด้วยชุดตัดด้วยใบมีดหั่นกาบมะพร้าวหลังครั้งละ8-10 ชิ้น ออกเป็นเท่าๆกัน ในการหั่นกาบมะพร้าว โดยใช้แรงงาน 1 คนและต้องการให้ได้ดีกว่าการตัดด้วยมีด