ขอทานพวกแรก หรือพวกที่เป็นขอทานจริงๆนั้น บางคนก็มีลักษณะที่น่าเห็นใจอย่างมาก บ้างพิการ ขาขาดบ้าง แขนขาดบ้าง ตาบอดบ้าง นั่งริมทางเท้า พนมมือไหว้ ผู้คนที่เดินผ่านไปมา ใครเห็นใจก็บริจาคกัน ตามกำลังทุนทรัพย์
ขอทานพวกที่สอง หรือพวกที่ไม่ใช่ขอทานจริงๆ เป็นพวกอาศัยการฉ้อฉล ทำให้ผู้อื่นสงสาร และบริจาคทรัพย์ให้ คนประเภทนี้บางทีก็สังเกตได้โดยง่าย เช่นแกล้งทำเป็นพิการโดยอาศัยผ้าปิด แต่แท้ที่จริงอวัยวะมีครบทุกส่วน บางจำพวก มีการรวมกลุ่มเป็น กลุ่มขอทานก็มี เป็นมิจฉาชีพ ทำหน้าที่เป็นขอทานโดยเฉพาะ โดยกระจายตัวไปตามจุดต่างๆ ทั่วชุมชน มีคนที่เคยพบเห็นบอกว่า ขบวนการนี้ มีการขนส่งขอทานไปตามพื้นที่ต่างๆโดยอาศัยรถยนต์เป็นยานพาหนะ เมื่อถึงที่หมายใด ก็หย่อนขอทานลงไปคนหนึ่ง เมื่อไปเจออีกจุด ก็หย่อนไปอีกคนหนึ่ง และก็จะไปให้ขอทานแต่ละคนทำหน้าที่ขอทานตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจประจำวัน ก็จะมีรถมารับกลับไปรวมกลุ่ม เพื่อวางแผนเตรียมการสำหรับวันรุ่งขึ้นต่อไป
การจะแบ่งแยกประเภทขอทานทั้ง 2 ประเภทไม่ใช่เรื่องง่าย การบริจาคทรัพย์ เราต้องรู้จักที่จะให้ ให้คนที่ไม่มีจริงๆ เป็นบุญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เราละซึ่ง ความเป็นตัวของเราเอง แต่การบริจาคทรัพย์ให้กลุ่มขบวนการ ที่ฉ้อฉล ประชาชน ถึงแม้เราจะละซึ่ง ของของเรา แต่ก็เท่ากับว่าเราไปสนับสนุนขบวนการดังกล่าว นั่นหมายถึงขบวนการดั่งนั้นก็ยังคงดำเนินควบคู่ไปกับสังคมไทย ยิ่งถ้าหากว่าคนในสังคมเห็นว่าขอทานทำเงินดี โดยที่ไม่ต้องเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ หากคนยึดติดและหาเงินด้วยวิธีดังกล่าว ก็จะทำให้สังคมไทยเสื่อมโทรม ภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศเสียหาย ยิ่งถ้ากลุ่มมิจฉาชีพ อาศัยวิธีหารายได้จากความสงสารของประชาชนจนไม่สามารถหาทางทำมาหากินด้วยวิธีอื่นได้ หากต่อมาคนในประเทศไม่บริจาคเงินให้ พวกเขาก็จะอาศัยการหาเงินที่ไม่ต้องลงแรง โดยใช้วิธีลักขโมย เป็นโจรบ้าง ปล้น ฆ่าบ้าง ซึ่งสร้างปัญหาให้สังคมไทยตามมา
ผลกระทบของคนขอทายมีความไม่แน่นอนพบมากในวรรณกรรมเกี่ยวกับขอทานแสดงให้เห็นว่า
- มันเป็นส่วนหนึ่งและที่สำคัญของเศรษฐกิจของบางสถานที่ท่องเที่ยวในโลกที่สาม
- ขอทานบางคนที่เกี่ยวข้องกับการไม่มีที่อยู่อาศัยและที่อาจมีปัญหาทางจิตเวชหรือพึ่งพาที่ป้องกันให้ดึงดูด / การถือครองการจ้างงานที่มั่นคง
- ขอทานในประเทศบางส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ที่ได้รับเลือกให้ขอในบางกรณีเพราะขอทานคือมีกำไรมากขึ้นกว่าแหล่งอื่นๆ ของรายได้
ปัญหาของคนขอทาน นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของสังคมไทย ที่เราทุกคน ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ภาครัฐ ต้องขจัด ขบวนการฉ้อฉลเหล่านี้ให้หมดไป ในขณะเดียวกันเราควรสอดส่องดูแล ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก และช่วยเหลือตามสมควร โดยมิใช่การให้เพียงทุนทรัพย์ แต่สอนให้เขายืนได้ด้วยตัวเอง
ด้านการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ควรบัญญัติกฎหมายลงโทษปรับเงินควบคู่ไปกับการสงเคราะห์แก่คนขอทานอาชีพ ควรประสานนโยบาย แผนงานระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อ แก้ไขปัญหาคนขอทานอย่างจริงจังและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปราบ ปรามคนขอทานอย่างเคร่งครัด ควรเปิดโอกาสให้วณิพกสามารถกระทำการขอทานได้อย่างเสรี ด้าน การป้องกันปัญหา ได้แก่ ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงบริการสวัสดิการสังคมต่างๆ ควรกระจายบริการประกันสังคม ไปสู่ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระต่างๆ ควรปรับปรุงพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 โดย เพิ่มบทลงโทษแก่สถานประกอบการต่างๆ ในกรณีไม่รับคนพิการเข้าทำงานและไม่จ่ายเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพพิการ แทน และควรให้ความช่วยเหลือคนเร่ร่อน อาทิเช่น ที่พัก การให้ความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ เป็นต้น ด้านการพัฒนาสังคม ได้แก่ ควรจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนกระจายทั่วประเทศ ควรส่งเสริมกาจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรประชาชนขึ้นในชุมชน และควรกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน