เช่น ต้องพัฒนาโดยให้มีความเท่าเทียมกัน ปราศจากความเหลื่อมล้ำ หรือที่เรียกว่ามีการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม ไม่พัฒนาบนความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการเบียดเบียนภาคเกษตรกร นอกจากความเท่าเทียมแล้ว ยังต้องอาศัย บุคลากรที่มีความสามารถ ความสามารถในที่นี้ไม่ใช้หมายถึง การใช้แรงงานแต่เป็น แรงงานที่ใช้สมอง หรือแรงงานมีฝีมือในการผลิต รวมทั้งปัจจัยทุนที่ทันสมัยหรือเทคโนโลยีที่มีการพัฒนา และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการที่เราไม่ลืมว่า สิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยอื่นรอบตัวนั้นมีความสำคัญมาก คือ คุณธรรมและจริยธรรมในการผลิต โดยไม่เบียดเบียน สิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อการผลิต ด้วยเงื่อนไขสามประการเบื้องต้นนี้จะเป็นแรง ขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ เศรษฐกิจฐานความรู้ หรือนวัตกรรมในการผลิต
จากประเทศไทยของเราเองนั้นยังคงติดอยู่กับการเป็น ประเทศที่มี รายได้ปานกลางขั้นกว่า คือยังติดอยู่ในบ่วงหรือกับดักของรายได้ปานกลางและไม่ได้พัฒนาไปเพราะว่าเนื่องมาจากว่า การที่ประเทศไทยเราไม่ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี และ บุคลากร อย่างแท้จริง รวมไปถึงการที่ประเทศไทยเรานั้นไม่ได้พัฒนาในเรื่องของปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เรียกว่า ความร่วมมือกันเชิงระบบ ที่เพียงพอ ในเรื่องของบุคลากรที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของประเทศนั้น ไม่มีประสิทธิภาพและความร่วมมือที่เป็นไปอย่างไร้ทิศทางของระบบการศึกษา ส่วนหนึ่งมาจากภาครัฐบาลไม่ได้จัดการในเรื่องความเชื่อมโยงระหว่าง ระบบการศึกษาในเชิงวิจัยเชื่อมโยงไปสู่ระบบประกอบการหรือภาคเอกชน ซึ่งในความหมายโดยง่าย คือ ความเชื่อมโยงในระบบการศึกษาเพื่อให้ผลิตบุคลากรที่เหมาะสมต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม หรือเราเรียกว่าระหว่างสองภาคนี้ ให้มีการทำงานร่วมมือกันเป็นเนื้อเดียวกัน ในที่นี้เต็มไปด้วยตัวอย่างโดยง่ายของการพัฒนาเทคโนโลยีหรือพัฒนานวัตกรรมของประเทศ