รูปแบบการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
เมืองหลวง
กรุงอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam)
การแบ่งการปกครอง
แบ่งออกเป็น 12 เขต ได้แก่ เดรนท์ (Drenthe) ฟลีโวแลนด์ (Flevoland) ฟรายส์แลนด์ (Friesland, Fryslan) เกลเดอแลนด์ (Gelderland) โกรนิเจน (Groningen) ลิมเบอร์ก (Limburg) บราบันท์เหนือ (Noord-Brabant, North Brabant) ฮอลแลนด์เหนือ (Noord-Holland, North Holland) โอเวอรีจเซล (Overijssel) อูเทรชท์ (Utrecht) ซีแลนด์ (Zeeland, Zealand) และฮอลแลนด์ใต้ (Zuid-Holland, South Holland)
วันที่ได้รับเอกราช
23 มกราคม พ.ศ. 2122
วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2358
ระบบกฏหมาย
กฎหมายบ้านเมืองนำหลักกฎหมายของฝรั่งเศสมาใช้ มีการนำเอากฎจากศาลโลกมาใช้ร่วม
พรรคการเมือง
พรรค Christian Democratic Appeal (CDA) พรรค Christian Union Party พรรค Democrats 66 (D66) พรรค Green Left Party พรรค Labor Party (PvdA) พรรค Party for Freedom (PVV) พรรค Party for the Animals (PvdD) พรรค People's Party for Freedom and Democracy (เสรีนิยม) (VVD) พรรค Reformed Political Party of SGP พรรค Socialist Party และยังมีพรรคย่อยอื่นๆอีกมากมาย
เนเธอร์แลนด์ (the Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) มีรากศัพท์มาจากคำว่า Neder หรือ ต่ำ เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ได้ปรับพื้นที่โดยการสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่างๆ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เนเธอร์แลนด์จึงมีเขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภาวะอุทกภัย เนเธอร์แลนด์จึงมีสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศยุโรปตะวันตกขนาดเล็ก มีพื้นที่ 41,528 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 16.3 ล้านคน เป็นประเทศหนึ่งที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลก มีอัตราส่วนประชากร 387 คน ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ประชากรเกือบครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 7 ล้านคนอาศัยอยู่ในสี่เมืองทางภาคตะวันตกของประเทศ คือ อัมสเตอร์ดัม เฮก รอตเตอร์ดัม และอูเทรค บริเวณนี้เรียกว่า แลนด์สตัด มีชาวต่างชาติโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเนเธอร์แลนด์ประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศในยุโรป ตุรกี โมร็อกโก เนเธอร์แลนด์แอนไทลิส และอารูบา (ดินแดนโพ้นทะเลของเนเธอร์แลนด์) อินโดนีเซีย และชูรินาเม (ประเทศอดีตอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์)
กรุงอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ ขณะที่กรุงเฮกเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ สถานทูตต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งพระราชวังซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ กรุงเฮกถือได้ว่าเป็น เมืองหลวงแห่งกฎหมายและยุติธรรมระหว่างประเทศของโลก โดยเป็นศูนย์กลางของการศึกษาด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นสถานที่ที่ตั้งขององค์การด้านกฎหมายและยุติธรรมระหว่างประเทศ อาทิ The International Court of Justice , The International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia, The Court of Arbitration, The Iran U.S. Claims Tribunal, The Hague Conference of Private International Law, The Organization for the Prohibition on Chemical Weapons และ The International Criminal Courtการเมืองภายในประเทศ
เนเธอร์แลนด์มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ ทรงมีพระราชอำนาจในเชิงพิธีการ อย่างไรก็ดี ทรงมีพระราชอำนาจด้านการเมืองที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมาของพระราชวงศ์ออเรนจ์ คือ สมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้สรรหานายกรัฐมนตรี (Formateur) ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป (เนื่องจากระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยถือว่าทั้งประเทศเป็นเขตเดียว ทำให้ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถครองเสียงข้างมากในรัฐสภา จึงต้องมีการเจรจาระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาล และผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) และสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงเป็นผู้แถลงนโยบายของรัฐบาลในพิธีเปิดสมัยการประชุมรัฐสภาประจำปี หรือ Speech from the Throneรัฐสภาเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา (First Chamber) มีสมาชิกจำนวน 75 คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยสภาจังหวัด 12 แห่ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และสภาผู้แทนราษฎร (Second Chamber) มีสมาชิกจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมาย ขณะที่วุฒิสภามีหน้าที่ให้ความเห็นชอบหรือยับยั้งร่างกฎหมายซึ่งเสนอโดยสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 รัฐบาลชุดก่อนของเนเธอร์แลนด์ ภายใต้การบริหารงานของนาย Jan Balkenende นายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่งและประกาศยุบสภา เนื่องจากเกิดความเห็นขัดแย้งเรื่องการคงกองกำลังทหารเนเธอร์แลนด์ในอัฟกานิสถาน ระหว่างพรรค Christian Democrat Appeal (CDA) ของนาย Balkenende ซึ่งต้องการให้มีการขยายเวลาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป กับพรรค Partij van de Arbeid (PvdA) ซึ่งต้องการให้ถอนกองกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถานตามกำหนดเดิมในเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2553 แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะพยายามเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันมานานกว่า 4 เดือน โดยได้มีการประชุมร่วมกันถึง 17 ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จและทำให้พรรค PvdA ประกาศถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล
เนเธอร์แลนด์ได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 9 มิถุนายน 2553 และเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2553 พรรคการเมืองเนเธอร์แลนด์ได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งมีที่นั่งในสภาจำนวน 76 ที่นั่งจากจำนวนทั้งหมด 150 ที่นั่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากพรรค Peoples Party for Freedom and Democracy (VVD) จำนวน 31 ที่นั่ง พรรค Party for Freedom (PVV) จำนวน 24 ที่นั่ง และพรรค Christian Democrat Appeal (CDA) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรี Jan Balkenende จำนวน 21 ที่นั่ง โดยนาย Mark Rutte หัวหน้าพรรค VVD ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นาย Uri Rosenthal พรรค VVD ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนาย Ben Knapen พรรค CDA ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดูแลกิจการยุโรปและความร่วมมือระหว่างประเทศ
นโยบายต่างประเทศ
สนธิสัญญา Lisbon ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 ได้วางกรอบเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างระบบการบริหารและการตัดสินใจภายใน EU รวมทั้งการเพิ่มบทบาทของสภาผู้แทนฯ ของแต่ละประเทศในสภาผู้แทนของ EU (European Parliament) ในส่วนของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะพยายามมากขึ้นที่จะให้คนเนเธอร์แลนด์ ให้การสนับสนุนพัฒนาการของ EU ภายใต้กรอบสนธิสัญญาดังกล่าว ขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนให้ EU เป็นองค