อุปกรณ์และวิธีการเล่น
การแข่งขันเรือบกมีอุปกรณ์และวิธีเล่นดัง ต่อไปนี้
อุปกรณ์
ไม้กระดาน ๒ แผ่น ยาวประมาณ ๑ วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้
วิธีการเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กับกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า อาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะ
วิธีการเล่น
1. รับสมัครเรือแข่งขนาดอายุ 9-10 ปี และ 10-14 ปี ให้ผู้แข่งขันเรือบกแต่ละ ขนาด ยืนคร่อมลำไม้ไผ่ แข่งครั้งละ 2 ลำ
2. เรือบกออกไปพร้อมกันโดยให้วิ่งในโคลน และจับเวลา
3. เรือบกลำที่ชนะเลิศ ต้องชนะ 2 เที่ยวใน กำหนด 3 เที่ยวซึ่งเป็น กติกาเดียวกับการแข่ง ขันเรือยาวทั่วไป
4. ความสนุกสนานในการแข่งขันเรือบกอยู่ ที่ผู้แข่งขันเรือบกในแต่ละลำจะ ต้องวิ่งลุยโคลนโดยพร้อมเพียงกัน ซึ่งถ้า ผู้เข้าแข่งขันคนใดเสียจังหวะ หรือไม่พร้อม กับคนอื่น ๆ เรือบกก็จะพากันล้อม ลงคลุกโคลนตม แล้วทุกคนต้องวิ่งจนกว่า จะถึงเส้นชัย
โอกาสในการแข่งขันเรือบก
แต่เดิมบริเวณหลังวัดเนินกุ่ม ตำบลเนินกุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกมีลำคลองสามารถ แข่งขันเรือยาวเป็นประจำทุกปี ต่อมาแม่ น้ำลำคลองตื้นเขิน ชาวตำบลเนินกุ่ม จึงจัด การละเล่นพื้นบ้าน "การแข่งขันเรือบก" ขึ้นใน งานประจำปีของวัดเนินกุ่ม ระหว่าง วันแรม 1- 2 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี (ประมาณเดือนกันยายน)
คุณค่าของการแข่งขันเรือบก
เป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย ฝึกความ ขยัน อดทน มานะพยายาม เป็นการส่งเสริมความ สามัคคี และฝึกเด็กให้รู้จักมีน้ำใจนัก กีฬา รู้แพ้ รู้ชนะและรู้อภัย นอกจากจะเป็นการออกกำลังขาแล้วยังสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสนุกสนาน การแข่งเรือบกจะเล่นกันในพื้นที่ ๆ ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน