จากรูป ผลของพริกที่เคลือบผิวด้วยสารละลายไคโตซาน โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 10 วัน พบว่าที่ชุดการทดลองที่ 6 (กรดอะซิติก 2 % กับไคโตซาน 3 กรัม) มีการเปลี่ยนแปลงสีผิวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับชุดการทดลองอื่น แตที่ชุดการทดลองที่ 3 (กรดอะซิติก 1 % กับไคโตซาน 3 กรัม) การเน่าเสียของพริกเกิดเร็วขึ้นกว่าชุดการทดลองอื่น ทั้งนี้เนื่องจากสารละลายไคโตซานที่ชุดเคลือบผิว อาจมีไคโตซานที่ละลายได้ไม่มากจึงทำให้การเคลือบผิวไม่ดี
เหตผลที่ไคโตซานสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงสีผิวได้นั้น เนื่องจากคณสมบัติการเป็นฟิล์มของสารละลายไคโตซาน จึงควบคุมการผ่านการเข้าออกของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์และมีผลต่อเมตาบอลิซึมของผลไม้ เมื่อผลไม้หายใจ ก๊าซคารบอนไดออกไซด์จากการหายใจจะถูกกักเก็บไว้ภายในผล เมื่อความเข้มข้นถึงระดับหนึ่งจะมีผลไปยับยั้งการทำงานของเอทธิลีนซึ่งเป็นฮอรโมนเร่งให้เกิดการสุก และไคโตซานยังจำกัดการส่งผ่านของก๊าซออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างและการทำงานของเอทธิลีน เมื่อผลไม้ขาดก๊าซออกซิเจนการสังเคราะห์เอทธิลีนก็ลดลง นอกจากนี้เมื่อผลไม้ขาดออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจ อัตราการหายใจของผลไม้ก็จะลดลง การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการส่งรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสีผิวของผลไม้จะลดลง