วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ในการปฏิบัติตนขณะอยู่โรงพยาบาลปฏิบัติตนไม่ถูกต้องและขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองเกี่ยวกับอาการที่เป็นอยู่
S:ผู้ป่วยบอกว่า “ไม่รู้ว่าจะดูแลตนเองอย่างไร”
ผู้ป่วยบอก “ไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการหนักไปมากกว่านี้”
O:ผู้ป่วยมีสีหน้าสับสน คิ้วขมวด
ผู้ป่วยถามคำถามเกี่ยวกับการดูแลตนเองบ่อยครั้ง
อภิปรายข้อวินิจฉัย
เนื่องจากผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุแบบกะทันหัน โดยไม่ได้คาดคิดและไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน จึงทำให้เกิดความวิตกกังวลเนื่องจากไม่มีความรู้ในการปฏิบัติตนและดูแลตนเองที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความหวาดระแวงกังวลและกลัวในอาการเจ็บป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุกะทันหัน โดยไม่คาดคิดและไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน จึงทำให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรค และการดูแลและปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยที่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์
-ผู้ป่วยเข้าใจในการดูแลตนเองขณะอยู่โรงพยาบาล
-ผู้ป่วยและญาติสามารถอธิบายและตอบคำถามเกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และการพยาบาลของโรคที่เป็นอยู่ได้
-ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ถูกต้อง
-ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
-ลดความวิตกกังวล และมีความรู้ความสามารถขณะอยู่ที่โรงพยาบาล
เกณฑ์การประเมิน
มีสีหน้าสดชื่น และสามารถตอบคำถามได้ ในเรื่องเกี่ยวกับโรคที่เป็น สาเหตุของการเกิดโรค และการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยโดยการถามคำถามและใช้คำที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจง่ายมากขึ้น
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และการพยาบาลให้ผู้ป่วยฟังและหลังจากอธิบายถามคำถามผู้ป่วยตามความเหมาะสม
3.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้ซักถามถึงปัญหาและข้อข้องใจต่างๆ
4.ให้ความสนใจรับฟังปัญหาของผู้ป่วยด้วยท่าทีเต็มใจเป็นกันเองและให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกโดยไม่เอาความคิดเห็นส่วยตัวไปตัดสินปัญหาของผู้ป่วย
5.แจ้งและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบก่อนจะให้การพยาบาลอธิบายเหตุผลและวิธีปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย
6.ประเมินความรู้และการปฏิบัติตนของผู้ป่วย
7.แนะนำให้รับประทานยาให้ตรงตามเวลาและรับประทานอย่างต่อเนื่อง
8.รับประทานอาการให้ครบ 5 หมู่
-รับประทานอาหารงดไขมัน ไม่ควรรับประทานนม เนย น้ำมัน ครีม เนื้อหมู และอาหารทอดทุกชนิด
-รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง จำพวกเนื้อแต่ไม่ใช้การทอด พวกแป้งน้ำตาล ผักและผลไม้ทุกชนิดลดการกินเนื้อสัตว์
9.การพักผ่อนและการออกกำลังกาย พักผ่อนอย่างนอนวันละ 6 – 8 ชั่วโมง และมีการออกกำลังพอสมควรตามสภาพ เช่นการเดินวันละ 15 – 30 นาที
10.แนะนำให้สังเกตแผลว่ามีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน หรือมีหนองซึมที่บริเวณแผลและให้แจ้งพยาบาลทันที
ประเมินผล
มีสีหน้าสดชื่นขึ้น และคลายความวิตกกังวลจากการซักถามผู้ป่วยสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง (5 พฤศจิกายน 2557)
มีสีหน้าสดชื่นขึ้น และคลายความวิตกกังวลจากการซักถามผู้ป่วยสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง (6 พฤศจิกายน 2557)
มีสีหน้าสดชื่นขึ้น และคลายความวิตกกังวลจากการซักถามผู้ป่วยสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง (7 พฤศจิกายน 2557)
ผู้ป่วยและญาติสามารถอธิบายและตอบคำถามเกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และการพยาบาลของโรคที่เป็นอยู่ได้ญาติสามารถช่วยผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัติประจำวัน และช่วยในการเคลื่อนไหวตามคำแนะนำได้ถูกต้อง(7 พฤศจิกายน 2557)