ในขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาทางด้านพลังงาน โดยพลังงานส่วนใหญ่ของประเทศมาจาก ถ่านหิน น้ำมัน ซึ่งกำลังจะหมดไปแน่นอนในอนาคตข้างหน้า ซึ่งสิ่งที่ทำให้กระทรวงพลังงานเล็งเห็นว่าประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าพลังงานของประเทศนั้นจะหันมาใช้พลังงานจากพลังงานทดแทน เช่น ก๊าซชีวภาพ ชีวมวล ลม แสงอาทิตย์ น้ำ นิวเคลียร์ และพลังงานใต้พิภพ เป็นต้น ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไปและหมุนเวียนเป็นวัฏจักรเรื่อย ๆ และในประเทศไทยของเรานั้นก็พืชหรือเมล็ดของพืชส่วนใหญ่ก็สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางด้านและในส่วนใหญ่เราสามารถนำเอาเมล็ดของพืชมาทำการวิจัยแล้วได้ผลว่าบางเมล็ดของพืชสามารถนำมาเป็นพลังงานทดแทนได้ เช่น ปาล์ม กระถิน ทานตะวัน เป็นต้น สามารถผลิตเป็นเอทานอลได้ โดยผ่านกระบวนการหมักแก๊สชีวภาพ ก๊าซชีวภาพ คือ ก๊าซที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ด้วยแบคทีเรียชนิดไม่อาศัยออกซิเจน (Anaerobic) ทำให้เกิดกลุ่มก๊าซขึ้นในขณะเกิดการย่อยสลาย กลุ่มก๊าซนี้ เรียกว่า ก๊าซชีวภาพ ก๊าซชีวภาพ ประกอบด้วย ก๊าซมีเทน (CH4) ประมาณร้อยละ 60 – 70 คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประมาณร้อยละ 30 – 40 ทีเหลือจะเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และก๊าซไนโตรเจน (N2) ซึ่งก๊าซมีเทนมีคุณสมบัติติดไฟได้จึงสามารถนำมาเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิง ต่างๆ เช่น การหุงต้ม เชื้อเพลิงรถยนต์ เชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้นการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุสามารถให้ก๊าซชีวภาพ แต่จะเกิดก๊าซมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลาย เช่น พืชสดจะเกิดก๊าซยากกว่ามูลสัตว์ เนื่องจากมูลสัตว์มีการย่อยสลายมาบ้างแล้วจากสัตว์ ทำให้แบคทีเรียสามารถย่อยสลายได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้น การนำพืชสดมาใช้กระบวนการหมักให้ได้ก๊าซชีวภาพจะต้องทำการสับให้มีขนาดเล็ก และหมักทิ้งไว้ก่อน สำหรับวัสดุที่นำมาหมัก นอกจากจะมีพืชสด และมูลสัตว์แล้ว ยังสามารถนำของเสียหรือน้ำเสียจากกระบวนการต่าง ๆมาใช้หมักได้ด้วย เช่น น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง น้ำเสียจากฟาร์มสุกร เศษอาหารตามบ้านเรือน เป็นต้น และมีกลุ่มนักวิจัยหลายท่านที่ได้ทำการวิจัยเมล็ดกระถิ่น ที่สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้และในอนาคตจะมีการนำออกมาใช้กันอย่างแพร่หลาย