French New Wave (Le Nouvelle Vague) ซึ่งหมายถึงกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์ฝรั่งเศสในช่วงปี 1958 -1964
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งได้แก่
Francois Truffaut, Jean Luc Godard , Claude Chabrol, Jacques Rivette และ Eric Rohmer
ซึ่งเคยเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับนิตยสาร “Cahiers du Cinéma” และผู้กำกับอย่าง Agnés Varda and Louis Malle ที่มาเข้าร่วมกับ French New Wave
ในช่วงปลายยุค 1950s ถึง 1960s ตอนต้นผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่ในหลายประเทศได้สร้างคลื่นลูกใหม่ของตนเอง
อย่างเช่นเรื่อง Angry Young Men ของ แต่การที่ผู้กำกับในกลุ่ม French New Wave เคยเป็นนักทฤษฎี
นักวิจารณ์มาก่อนถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กระแสของคลื่นลูกใหม่ของฝรั่งเศสดูจะมีอิทธิพลสูงที่สุด นิตยสาร Cahiers du Cinéma ยกย่องผลงานภาพยนตร์ฝรั่งเศสในช่วง 1930s ของ Jean Renoir และ Jean Vigo
และผลงาน Neo-Realism ของอิตาลีอย่าง Roberto Rossellini และ Vittorio De Sica และยังรวมทั้งผู้กำกับในฮอลลีวูดอย่าง Alfred Hitchcock, Nicholas Ray
และ Howard Hawks ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ถือว่าเป็นนักประพันธ์ (Author) ของผลงานในแต่ละคน
ทั้งที่ต่างก็ทำงานอยู่ภายใต้ระบบสตูดิโอ แต่ลักษณะเด่นในผลงานของแต่ละคนในทุกๆเรื่อง
ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นนักประพันธ์ ซึ่งกลายมาเป็น ทฤษฎีประพันธกร (Authors Theory)
ผู้กำกับ French New Wave ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่สร้างขึ้นมาในช่วง 1950s ตอนปลายในการถ่ายทำ
โดยทำงานในสถานที่จริงมากกว่าในสตูดิโอ ใช้กล้อง Hand Held ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Eclair company
ช่วยลดต้นทุนในการผลิตภาพยนตร์ลงเพราะการถ่ายทำในสตูดิโอนั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง
และยังกระตุ้นให้ผู้กำกับมีอิสระในการสร้างงานศิลปะมากขึ้น ภาพยนตร์ของ French New Wave จะมีความเป็นธรรมชาติ
เหมือนจริงเนื่องจากถ่ายในสถานที่จริง โดยมักจะใช้โลเกชั่นในปารีสเป็นส่วนใหญ่
หรือเมืองที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ที่สวยงามในฝรั่งเศส บทสนทนาในภาพยนตร์เป็นธรรมชาติ อย่างที่คนทั่วไปพูดกัน
ผู้กำกับมักจะกระตุ้นให้นักแสดงกล่าวบทสนทนาสด บางครั้งอาจมีการพูดแทรกกันเกิดขึ้นเหมือนในชีวิตจริง
นอกจากนี้ลักษณะผลงานของผู้กำกับ French New Wave ยังมีสไตล์การตัดต่อต่างจากภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่ทะลักเข้ามาในฝรั่งเศสช่วงนั้น
โดยจะตัดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง ทำให้คนดูระลึกอยู่เสมอว่ากำลังชมภาพยนตร์อยู่ อย่างเช่นการใช้ Jump Cut หรือ Insert ภาพที่นอกเหนือจากในเรื่อง
และการถ่ายแบบ Long Take ลักษณะการตัดต่อนั้นยังขึ้นอยู่กับเรื่องราวที่นำเสนอในภาพยนตร์นั้นๆ
Le Weekend (1967)
ภาพยนตร์โดย Jean Luc Godard เรื่องราวเกี่ยวกับคู่สามีภรรยา Roland และ Corinne Durand
ขับรถไปนอกเมืองเพื่อไปเยี่ยมบ้าน Corinne ที่ Oinville โดยมีจุดประสงค์ที่จะฆ่าพ่อเพื่อเอาเงินมรดก
แต่ระหว่างทางพวกเขากับต้องเจอกับรถติดอย่างหนัก การปฏิวัติ สงครามกลางเมือง
Le Weekend เป็นภาพยนตร์แนว French New Wave ที่นำแนวคิดลัทธิ Marxism
แนวคิดเรื่องวัตถุนิยมมาเกี่ยวโยงกับสภาพชีวิตของชนชั้นกลางฝรั่งเศสในยุคนั้นด้วย
อย่างเช่นในฉากที่รถของ Roland และ Corinne ไฟไหม้ Corrinne กลับเป็นห่วงแต่กระเป๋า Hermes ของตัวเอง
ซึ่งเป็นตัวสะท้อนความฟุ่มเฟื่อยของชนชั้นกลางที่ต้องการแสดงออกให้เป็นที่ยอมรับในสังคมเมือง
เนื้อหาสะท้อนสังคมฝรั่งเศสตามลักษณะของ French New Wave และนอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงสังคมฝรั่งเศสกับปัญหาเรื่องวัตถุนิยมที่มาจากสังคมแบบททุนนิยม
ภาพยนตร์เปิดเรื่องที่การนั่งคุยกันที่ระเบียงระหว่าง Corrinne, Roland และเพื่อนของ Roland ที่ดูเป็นComedy ทั่วไป
จนมาถึงฉากที่น่าจะเป็นฉากที่ติดอยู่ในความทรงจำของคนดูนั่นก็คือฉากอุบัติเหตุรถยนต์ที่รถติดยาว Roland และ Corinne
ขับรถกันมาถึงหางแถวของขบวนรถที่ติดเป็นแถวยาว พวกเขาพยายามออกเลนซ้ายเพื่อแซงไป
เป็นการถ่าย Long Tracking Shot นานกว่า 10 นาทีตามคู่สามีภรรยาที่พยายามขับรถไปหาต้นตอที่ทำให้รถติด
ซึ่งการถ่าย Long take ที่โดดเด่นในซีนนี้ เป็นลักษณะหนึ่งในงานของ French New Wave ตามที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว
นอกจากนี้ลักษณะของ French New Wave ที่ปรากฎในเรื่อง Le Weekend
นี้ยังมีการถ่ายทำที่โลเกชั่นจริงในปารีส และนอกเมืองที่มีวิวทิวทัศน์น่าสนใจ
การใช้แสงธรรมชาติอย่างในฉากที่เพื่อนของ Roland นั่งคุยกับ Corrinne ในห้องนอนใส่แค่เสื้อชั้นในก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า
ใช้แสงตามธรรมชาติ ไม่ต้องมานั่งจัดไฟให้สว่าง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นลักษณะงานของ French New Wave
ทั้งนั้น ภาพยนตร์ฝรั่งเศสในยุคนั้นจะมีเนื้อหาเพื่อความบันเทิงโดยเฉพาะ
แต่ผลงานของ French New Wave จะสะท้อนปัญหาสังคม ประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมฝรั่งเศสลงไปในภาพยนตร์ด้วย
อย่าง Le Weekend ที่สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงไปประมาณ 20 ปี
ความตึงเครียดต่างๆในยุโรปต่างคลี่คลายลง เป็นช่วงที่ผู้คนต่างรู้สึกว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกระบวนการที่ผลักดันให้พลเมืองมีสิทธิเท่าเทียมกันดำเนินขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่ในภาพยนตร์กลับตรงกันข้ามกับสภาพสังคมในตอนนั้น ประชาชนก่อจราจลเพื่อต้องการเสรีภาพที่แท้จริง แล้วการปฏิวัติก็ไปจบลงที่กลุ่มมนุษย์กินคน
เปรียบกับผู้คนที่หลงในวัตถุ ทุนนิยมจนไม่สนใจศีลธรรม ไม่สนใจสังคม ขอให้ตัวเองอยู่รอดเป็นพอ