หัวข้อโครงการ สื่อการเรียนการสอนเรื่องคอนกรีตและปูนซีเมนต์
ผู้ดำเนินโครงการ นายณัฐพล มธุวร รหัสนักศึกษา 5631210009
นายพัทยศ ลือชัย รหัสนักศึกษา 5631210017
ครูที่ปรึกษา นายสิทธิศักดิ์ เงินกลาง
สาขาวิชา โยธา
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
อุสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทย นับเป็นอุตสาหกรรมอีกแขนงหนึ่งที่กำลังมีบทบาทและมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างสูงทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาประเทศชาตินั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน ศูนย์การค้า และโรงงานต่างๆ ตลอดจนการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันเป็นฐานรองรับที่จะนำไปสู่การพัฒนาในด้านอื่นๆ อีกต่อไป อาทิ การก่อสร้างถนนและสะพานที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกล เข้ากับเมืองหลวงและเมืองหลักของประเทศในส่วนภูมิภาค เพื่อเปิดเส้นทางคมนาคมให้ผลิตผลทางการเกษตรจากชนบท ได้ถูกนำเข้าสู่ตลาดในเมืองได้โดยสะดวก การก่อสร้างเขื่อนทั้งเพื่อการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรกรรมและเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ และต่อวงการธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศ ตลอดจนการก่อสร้างโรงเรียน โรงพยาบาลและอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้างแทบทั้งสิ้น ดังนั้น อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในปัจจุบัน จึงนับมีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศอย่างยิ่ง
จากการทดสอบโครงการสื่อการการสอนเรื่องคอนกรีตและปูนซีเมนต์จุดประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาคอนกรีตเทคโนโลยี2. เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจ ในงานคอนกรีตและปูนซีเมนต์3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนนักศึกษา
การประเมินด้านการออกแบบของผู้ทดสอบซึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดินแผนกก่อสร้าง-โยธา ปวส. 1จำนวน 10 คน ในการทดสอบโครงการสื่อการการสอนเรื่องคอนกรีตและปูนซีเมนต์ ในด้านการรวบรวมข้อมูล พบว่าเฉลี่ยได้ระดับมากที่สุด คือ 4.70 คือ ด้านเนื้อหา และค่าเฉลี่ยที่ได้น้อยที่สุด คือ 4.10 คือด้านความสวยงาม ผลโดยรวมในการประเมินด้านการรวบรวมข้อมูล ได้ค่าเฉลี่ย 4.35 อยู่ในระดับที่เหมาะสม
การประเมินด้านการออกแบบของผู้ทดสอบซึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดินแผนกก่อสร้าง-โยธา ปวส. 1จำนวน 10 คน ในการทดสอบโครงการสื่อการการสอนเรื่องคอนกรีตและปูนซีเมนต์ ในด้านประสิทธิภาพ พบว่าเฉลี่ยได้ระดับมากที่สุด คือ 4.60 คือ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมได้ และค่าเฉลี่ยที่ได้น้อยที่สุด คือ 4.10 คือ สามารถนำไปใช้ได้จริง ผลโดยรวมในการประเมินด้านประสิทธิภาพ ได้ค่าเฉลี่ย 4.175 อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สรุปผลทั้ง 2 ด้าน คือ 1.) การประเมินด้านการรวบรวมข้อมูลได้ค่าเฉลี่ย 4.35 อยู่ในระดับที่เหมาะสมมาก และ 2.) การประเมินด้านประสิทธิภาพได้ค่าเฉลี่ย 4.175 อยู่ในระดับที่เหมาะสมมาก