วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
พัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
เราแบ่งยุคของการพัฒนาโทรศัพท์มือถือเป็น Generation เริ่มตั้งแต่ 1G, 2G และ 3G
ยุค 1 G หรือ First Generation เป็นยุคที่ใชัสัญญาณอนาล็อก โดยผสมคลื่นเสียงในสัญญาณวิทยุ สามารถใช้งานด้านเสียง (Voice)เพียงอย่างเดียว ไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลอื่นใดเลย คุณภาพเสียงไม่ดีนัก ขนาดโทรศัพท์ใหญ่เทอะทะ เริ่มมีใช้ประมาณ 1980 ปริมาณการยังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในแวดวงนักธุรกิจ
รูปที่ 1.2 โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 1G
ยุค 2 G เริ่มนำมาใช้ประมาณ 1990 เปลี่ยนเป็นการส่งคลื่นวิทยุแบบอนาล็อกเป็นการส่งแบบเข้ารหัสดิจิตอล เริ่มมีความสามารถใช้งานทางด้านรับส่งข้อมูล แต่เป็นข้อมูลขนาดเล็ก เช่น ข้อความสั้น ๆ (SMS – Short Message Service) มีความยาวไม่เกิน 160 ตัวอักษร ประสิทธิภาพการรับส่งถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ สามารถกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน(Cell site) ราคาโทรศัพท์มือถือเริ่มลดต่ำลง ทำให้มีผู้ใช้มากขึ้น เริ่มมีดาวน์โหลด Ring tone แบบ monotone ,ภาพ Graphic, Wall paper ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพขาวดำ มีความละเอียดต่ำ
มาตรฐานที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือยุคที่ 2 คือ
1. GSM – Global System for Mobile Communication เป็นมาตรฐานหลักในทวีปยุโรป และ เอเซียประมาณ 160 ประทเศ โทรศัพท์เพียงหมายเลขเดียวสามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก (Roaming) ใช้ข้ามเครือข่ายได้
2. CDMA – Code Division Multiple Access นิยมใช้ในอเมริกาและเกาหลีใต้ ผู้ใช้ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ข้ามเครือข่ายได้ คุณภาพเสียงและสัญญาณข้อมูลที่ได้มีคุณภาพดีกว่าแบบ GSM
ยุค 2.5 G เป็นยุคระหว่าง 2G กับ 3G เทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) เกิดขึ้นในยุคนี้
มีความเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูลถึง 115 Kbps แต่ในทางปฏิบัติ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น เริ่มมีการใช้งานในเชิง Data มากขึ้น SMS กลายเป็น MMS Ringtone ก็กลายเป็นPolyphonic และ True tone จอภาพมีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นภาพสีที่มีความคมชัด
ก่อนจะเข้ายุค 3G มีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) บางคนเรียกแบบไม่เป็นทางการว่า ยุค 2.75G EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRSเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRSให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้นประมาณ 3 เท่า
ยุค 3G หรือ Third Generation เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ 2.1 GHz มีอยู่ 2 มาตรฐานคือใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS)บางแห่งเรียกว่า WCDMA (Wideband Code Division Multiple Access) ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก GSM และอีกมาตรฐานคือเทคโนโลยี CDMA2000 พัฒนามาจากเครือข่าย CDMA
การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายมาสามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น สามารถเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เนตได้อย่างสมบูรณ์ การรับส่งข้อมูลมีความเร็วตั้งแต่ 384 kbps จนถึง 2 Mbps เพียงพอต่อการรับส่งข้อมูลประเภทสื่อประสม หรือ multimedia สามารถรับส่งไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ download เพลง ดู TV Streaming และประชุมแบบ Video Conference ในอนาคต E learning จะเปลี่ยนเป็น M learning หรือ Mobile learning เมื่อเราเปิดโทรศัพท์ระบบ 3G จะเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ของเราตลอดเวลา
ลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับระบบ 3G ในไทย
- ก่อนปี พ.ศ. 2540 หน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยมี 3 องค์กรคือ 1. กรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นหน่วยงานราชการ 2. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ให้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศ และ 3.การสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ให้บริ การโทรศัพท์ระหว่างประเทศและการสื่อสารชนิดอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โดยที่ทั้งสามหน่วยงาน สังกัดกระทรวงคมนาคม
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บทบัญญัติใน มาตรา 40 กำหนดให้มีองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาล มาดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม ได้มีการยกร่างและประกาศใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 จึงได้มีการจัดตั้ง กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (NTC)The National Telecommunications Commission)และ กสช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ) ต่อมามีการเปลี่ยนระบบสัมปทานคลื่นความถี่มาเป็นระบบ “ใบอนุญาต” หรือ License แทน กำหนดให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ย้ายมารวมอยู่กับ กทช. และแยกหน่วยงานด้านไปรษณีย์ ไปเป็นบริษัท ไปรณีย์ไทย จำกัด
- 3 ตุลาคม 2545 ได้มีการประกาศปฏิรูประบบราชการไทยใหม่ (ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) มีการตั้งกระทรวงใหม่ ๆ เพิ่มเติม หลายกระทรวง รวมทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)หน่วยงานทั้งสามหน่วยที่เคยสังกัดกระทรวงคมนาคม ถูกย้ายมาสังกัดกระทรวงไอซีทีแทน
-14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ทางด้านการสื่อสารแห่งประเทศไทย ถูกแปรรูปเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)(CAT) ซึ่งมีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% โดยมีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และการสื่อสารชนิดอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต
- วันที่1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แยกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แปรรูปเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน (TOT)เมื่อ โดยมีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยใช้ระบบสัมปทาน โดยมี TOT และ CAT เป็นผู้ผูกขาดเพียง 2 องค์กรเท่านั้น ทั้งสองบริษัททำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว ด้านการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งTOTและ CAT ได้เปิดให้เอกชนประมูลคลื่นความถี่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย TOT ได้
ให้สัมปทานคลื่นความถี่แก่บริษัท AIS และCATได้ให้สัมปทานคลื่นความถี่แก่บริษัท DTAC และ TRUE ส่วนหน้าที่ในการกำกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ถูกโอนย้ายไปอยู่กับ กทช
- ถ้าเป็นไปตามแผนการประมูลระบบ 3G ของ กทช. ในช่วงกลางปี 2552 จะมีการออกใบอนุญาต 4 ใบ โดยให้ผู้ประกอบการรายเก่า 3 ใบ ซึ่งได้แก่ AIS DTAC และTRUE และให้ผู้ประกอบการรายใหม่อีก 1 ใบ TOT และ CAT ซึ่งอยู่ในรูปบริษัทของรัฐ จึงไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ตามกฎเกณฑ์ที่ กทช. ตั้งไว้ กระทรวงไอซีที ซึ่งดูแลบริษัททั้งสองอยู่ได้เข้าร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีให้ กทช. เปลี่ยนกฎเกณฑ์
- กันยายน พ.ศ.2549 เกิดการรัฐประหาร มีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ.2550 ระบุว่าให้เหลือองค์กรที่ดูแลจัดสรรเพียงหน่วยงานเดีย