5. ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
6. เพศ ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และบางคนหลังจากคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
7. อายุ เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
8. กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
9. ยา ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
10. โรคบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์
วิธีการรักษาโรคอ้วน
การรักษาเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงนั้นด้องทำให้เกิดดุลลบของพลังงานคือ ปริมาณอาหารที่บริโภคเข้าไปเพื่อให้พลังงานนั้นต้องน้อยกว่าพลังงานที่ใช้ ร่างกายจึงสามารถดึงเอาไขมันที่สะสมไว้มาเผาผลาญเป็นพลังงาน ดังนั้นหลักในการบำบัดโรคอ้วนคือ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การควบคุมอาหาร
การควบคุมอาหารเพื่อการลดน้ำหนักในโรคอ้วนมีหลักการสำคัญดังนี้
ลดปริมาณพลังงานที่บริโภค คนที่กินอาหารมากต้องกินให้น้อยลง ซึ่งต้องปฏิบัติให้ได้ น้ำหนักที่เกินอยู่จึงจะลดลง คนปรกติน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น 1 กก. ถ้าได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น 22กิโลแคลอรี/กก. น้ำหนักตัว ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน 10 กก. ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นวันละ 220 กิโลแคลอรี ดังนั้นคนอ้วนที่มีน้ำหนักตัวเกิน10กก. ก็ต้องลดปริมาณอาหารที่บริโภคลงวันละ 220 กิโลแคลอรี
ควรประเมินปริมาณพลังงานที่ผู้ป่วยบริโภคอยู่ก่อนมารับการลดน้ำหนัก ในรายที่ให้บริโภคอาหารน้อยลงกว่าเดิมวันละ 500 กิโลแคลอรี น้ำหนักตัว จะลดลงได้ประมาณ 0.45 กก./สัปดาห์ ถ้าปฏิบัติได้จริงในช่วง 10เดือนจะลดได้ประมาณ 18 กก. ดังนั้นจึงต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าการลดน้ำหนักต้องใช้เวลา ไม่แนะนำให้ลดน้ำหนักโดยวิธีอดอาหาร เพราะจะมีผลเสียมากกว่าผลดี น้ำหนักลดได้จริงเมื่อใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล แต่พอผู้ป่วยกลับบ้านจะอ้วนกลับมาใหม่ ถ้าหากจำเป็นต้องกำหนดให้ผู้ป่วยบริโภคอาหารที่ให้พลังงานน้อยกว่า 1,000 กิโลแคลอรี/วัน. ต้องระวังว่าผู้ป่วยอาจเกิดการขาดวิตามินและเกลือแร่ได้ เพื่อความปลอดภัยในช่วงลดน้ำหนัก จึงควรให้ผู้ป่วยกินวิตามินและเกลือแร่ในรูปเม็ดยาที่ให้ปริมาณตามความต้องการของร่างกาย
จัดสัดส่วนของพลังงานอาหารที่บริโภคให้เหมาะสม เมื่อกินอาหารให้น้อยลง จะต้องระมัดระวังว่าอาหารนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ และยังมีความเอร็ดอร่อยที่ผู้ป่วยกินอาหารนั้นได้ การจัดสัดส่วนของพลังงานอาหารที่บริโภคให้เหมาะสม มีส่วนสำคัญทำให้อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการ
โปรเทอิน ควรไต้ร้อยละ 20 ของพลังงานที่ได้รับ โปรเทอินกินต้องมีคุณภาพ เช่น ไข่, เนื้อสัตว์, ถั่วเหลือง, นม ในทางปฏิบัติเน้นให้ผู้ป่วยกินเนื้อไก่ เนื้อปลา ที่ไม่มีไขมันให้มากขึ้น เพื่อให้ได้โปรเทอินเพียงพอ