มิสฟลอเรนซ์จึงตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ มิสฟลอเรนซ์พร้อมสตรีอาสาสมัครที่จะช่วยพยาบาลทหารอีก จำนวน 38 คน จึงเข้าประจำทำงานดูแลทหารบาดเจ็บที่โรงพยาบาลแบแรท ในเมืองสคูตารี่ โรงพยาบาลมีผู้บาดเจ็บมากถึง 3,000-4,000 คน อยู่รวมกันอย่างแออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี ห้องน้ำห้องส้วมสกปรก น้ำหายาก ที่บอนปูพื้น ผ้าปูที่นอนหนแข็งและไม่มีผงซักฟอก เสื้อผ้าทหารบาดเจ็บไม่มีเปลี่ยนต้องใส่เสื้อเปื้อนเลือดและเหงื่อ อาหารไม่เหมาะสม รับประทานอาหารด้วยมือ น้ำดื่มไม่เพียงพอ มีหนูและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เกิดโรคระบาดขึ้น เช่น อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ ผู้บาดเจ็บมีอัตราการตายสูงถึง 42% ในเวลากลางคืน ต้องนอนในความมืด ไม่มีใครดูแล ไม่มีแสงสว่าง
มิสฟลอเรนซ์ได้ปฏิรูปงานโรงพยาบาลเกือบทุกด้าน ใช้เวลา 6 เดือน สามารถลดอัตราการตายลงเหลือ 2% และศัลแพทย์ก็พอใจการปฏิบัติของมิสฟลอเรนซ์มาก ค.ศ.1855 มิสฟลอเรนซ์และแม่ชีคาทอลิกอีก 3 คน เดินทางไปสถานพยาบาลในเมืองมาลาคาวา ในแหลมไครเมียร์ ได้ปรับปรุงการพยาบาลให้ดีขึ้น และกลับมายังโรงพยาบาลในเมืองสคูตารี่ เพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บต่อจนถึง ค.ศ.1856 สงครามไครเมียร์ก็สงบลง โรงพยาบาลต่างๆก็ปิดตัวลง พยาบาลทั้งหมดกลับประเทศอังกฤษ มิสฟลอเรนซ์กลับถึงอังกฤษเป็นคนสุดท้ายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1856