ข้าวแต๋น" เป็นขนมพื้นเมืองของชาวล้านนา ทำมาจากข้าวเหนียวไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวดำ นำมาผ่านกระบวนการนึ่งสุกแล้วจึงนำไปราดด้วยน้ำอ้อย เป็นขนมของคนเมือง(คนภาคเหนือ) ส่วนใหญ่จะทำเลี้ยงแขกในงานมงคลต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานบวช หรือจะนำมาทานเล่นก็ได้
"ข้าวแต๋น"ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านอีกประเภทหนึ่ง เนื่องจากชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวที่เหลือจากการบริโภค นำมาขึ้นรูปเป็นรูปต่างๆ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม แล้วตากแดดวิธีนี้จะสามารถเก็บไว้ได้นาน ถ้าจะนำมารับประทานให้นำไปทอดให้สุกแล้วนำมาราดน้ำอ้อยอีกครั้ง
ส่วนใหญ่ข้าวแต๋นจะเป็นของฝากจากจังหวัดลำปาง เนื่องจากจังหวัดลำปางมีพื้นที่ในการเพราะปลูกอ้อยมาก หน่วยงานรัฐจึงมาตั้งโรงงานน้ำตาลที่จังหวัดลำปาง อำเภอเกาะคา เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในปีพ.ศ.2480 ผลผลิตที่ได้จากอ้อยคือ น้ำอ้อยและน้ำตาลแดงซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำขนมข้าวแต๋น ส่วนข้าวเหนียวเป็นข้าวที่จังหวัดลำปางปลูกและรับประทานทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้น "ข้าวแต๋น" มีส่วนประกอบสำคัญเป็นข้าวเหนียวและน้ำอ้อย จึงเหมาะที่จะผลิตในจังหวัดลำปางเพราะมีวัตถุดิบเป็นจำนวนมากและข้าวแต๋นที่มีชื่อเสียงในจังหวัดลำปางคือ "ข้าวแต๋นทวีพรรณ"