ภูมิหลัง
แพลงก์ตอนจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพและขนาด ทำให้แพลงก์ตอนไม่สามารถรักษาการเคลื่อนที่การต่อกระแสน้ำได้ จึงลอยไปตามทิศทางของกระแสน้ำเท่านั้น แพลงก์ตอนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กที่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ (นันทนา คชเสนี,2554 : 39) แพลงก์ตอนพืชเป็นสาหร่ายที่ล่องลอยอยู่ในน้ำสามารถสังเคราะห์แสงได้ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อม แพลงก์ตอนพืชหลายชนิดเป็นอาหารโดยตรงของมนุษย์ เช่น สาหร่ายสไปรูลิน่า บางชนิดใช้เป็นยาปฏิชีวนะ เช่น สาหร่ายคลอเรลลา ซึ่งมีสารคลอเรลลิน ที่ใช้เป็นยาปฏิชีวนะได้ โดยทางอ้อมของแพลงก์ตอนพืชเป็นผู้ผลิตที่สำคัญในแหล่งน้ำ มีความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำนั้น โดยแพลงก์ตอนพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมโยงระหว่างผลผลิตปฐมภูมิ (Primary Productivity) กับปลาและสัตว์น้ำ แพลงก์ตอนพืชจึงถือเป็นหลักฐานในห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ของแหล่งน้ำธรรมชาติ (ธิดาพร ฉวีภักดิ์ และนิคม ละอองศิริวงศ์, 2548)
ในธรรมชาติของแหล่งน้ำนั้น จะมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช ซื้อเพียงพอกับความต้องการของสิ่งมีชีวิตในน้ำ แต่ในปัจจุบันธาตุอาหารต่างๆจากน้ำทิ้งหรือน้ำเสียที่ถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำ ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่ายูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) ส่งผลให้เป็นแพลงก์ตอนพืชเกิดการเจริญและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วเรียกว่า Plankton blooms หรือ Algel bloom ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้น้ำเปลี่ยนสีมีผลให้ออกซิเจนลดลงในเวลากลางคืนแบคทีเรียใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำตายเนื่องจากขาดออกซิเจน (ธิดาพร ฉวีภักดิ์ และนิคม ละอองศิริวงศ์, 2548)
ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายตัวของสาหร่ายมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น อุณหภูมิ ฤดูกาล รวมทั้งปริมาณสารอาหารในแหล่งน้ำ โดยในฤดูฝนอาจมีการชะล้างสารอาหารธรรมชาติจากพื้นดินสู่แหล่งน้ำสะสมไว้เป็นอาหารของแพลงก์ตอนพืช เมื่ออุณหภูมิมีสภาวะเหมาะสมจะทำให้เกิดการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว การศึกษาแพลงก์ตอนพืชจะช่วยให้รู้ถึงชีววิทยาในแหล่งน้ำได้มากขึ้นโดยสามารถบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ หรือผลผลิตของแหล่งน้ำ สามารถเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำรวมทั้งบ่งบอกถึงความเน่าเสียของแหล่งน้ำ โดยแพลงก์ตอนพืชแต่ละชนิดมีความทนต่อคุณภาพน้ำแตกต่างกันซึ่งสามารถประยุกต์ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในแม่น้ำเลย ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญมากต่อประชาชนในจังหวัดเลย โดยการใช้แหล่งน้ำทำการเกษตร และการประมง เป็นต้น
2.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.1 เพื่อศึกษาความหลากหลายของแพงต้นพืชที่กระจายตัวในแม่น้ำเลยจังหวัดเลย
2.2 เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำทางกายภาพและทางเคมีบางประการของแหล่งน้ำซึ่งสามารถส่งผลต่อปริมาณและชนิดของแพลงก์ตอนพืช
2.3 นำข้อมูลต่างๆที่ศึกษามาเปรียบเทียบการกระจายตัวของแพลงตอนพืชและคุณภาพของแหล่งน้ำ
2.4 เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำของแม่น้ำเลยจังหวัดเลย