ลือเลื่องแพะเมืองผี
แพะเมืองผี เมื่อครั้งในอดีตกาลนานมาแล้ว ชาวบ้านขนานนามว่า เป็น“แพะเมืองผี ” ไม่มีผู้ใดทราบประวัติเป็นที่แน่นอนแต่ได้เล่าสืบทอดกันมาว่า แต่ก่อน
บริเวณป่าแห่งนี้ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มีพันธุ์ไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่นและสัตว์ป่า
น้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้น มีครูบาปัญโญ ฯ เป็นเจ้าอาวาสวัดน้ำ ชำ
ตำบลน้ำชำ ซึ่งชาวบ้านได้พร้อมใจกันนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดน้ำชำและได้บอก
เล่าประวัติแพะเมืองผีสืบทอดติดต่อกันมาว่า มีหญิงชราคนหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ย่าสุ่ม” เข้า
ไปหาผัก หน่อไม้ เป็นอาหาร แต่หลงป่าแล้วไปพบหลุมเงิน ทองคำ จึงได้นำเงิน และทองคำ ใส่
ถุงแล้วเตรียมหาบจะกลับบ้านเสร็จแล้วเกิดหลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน คำ ออกมา
ได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบแล้วหาไม้มาคาดเป็นราว (ราวไม้) ต่อมาออกจากป่าจนถึงบ้านและเดิน
กลับไปราวไม้ที่คาดไว้เป็นแนวทางไว้ ซึ่งปัจจุบันเป็นร่องทางน้ำพบเห็นได้ เป็นแนวออกไปทาง
บ้านนํ้าชำทิศตะวันออกของแพะเมืองผี ย่าสุ่มจึงได้ชักชวนชาวบ้านให้เข้าไปด้วยปรากฏว่า
ชาวบ้านก็ได้ติดตามย่าสุ่มเข้าไปถึงจุดที่ย่าสุ่มวางหาบไว้แต่ไม่พบเงินและทองคำในหาบ
แต่อย่างใด ไม่รู้ว่าหายไปได้อย่างไร ชาวบ้านจึงขนานนามสถานที่นั้นว่า “แพะย่าสุ่มคาดราว”
และได้ช่วยกันค้นหา พบรอยเท้าคนเดิน ย่าสุ่มและชาวบ้านได้เดินตามรอยเท้าเหล่านั้นไป
จนกระทั่งมาถึงพื้นที่ซึ่งชาวบ้านขนานนามว่า “แพะเมืองผี” ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือคำว่า
“แพะ” ในที่นี้หมายถึงป่าแพะนั่นเอง ส่วนคำว่าเมืองผี ก็เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันสืบมาในสมัย
ดึกดำบรรพ์ โดยอาจจะเห็นว่าป่าแพะตรงนี้มีลักษณะพิสดารของภูมิประเทศ และเพราะความ
เร้นลับตามเรื่องราวที่เชื่อถือเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็อาจเป็นได้แพะเมืองผีมีสภาพเป็นป่าบนที่ราบลอนคลื่น สภาพสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอ มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยๆ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 180-210 เมตร จะมีเสาดินรูปร่างประหลาดเกิดจากระบวนการกระทำของนํ้าไหลและชะชั้นดินที่มีความแข็งไม่เท่ากัน นักธรณีวิทยาประมาณ ค่าอายุของดินแห่งนี้ว่าอยู่ในยุค Quaternary ซึ่งเป็นยุคค่อนข้างใหม่ มีอายุตั้งแต่ 15 ล้านปี จนถึงปัจจุบัน ลักษณะการเกิดของเสาดินเกิดจากSemiconsolidatged) คือ หินที่ยังแข็งตัวไม่เต็มที่ประกอบด้วย (Siltstone) ชัน้ (Sandstone) สลับกันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีความต้านทานต่อการผุพังไม่เท่ากัน เมื่อถูกนํ้าฝนชะซึมสู่ชั้นหินที่ (Less-resistant bed) ก็จะถูกกร่อนโดยง่ายเหลือชั้นที่(More-resistant bed) ทำหน้าที่เสมือนแผ่นเกราะวางอยู่ข้างบน เรียกว่า (Cap) ทำให้นํ้าไม่สามารถชะกร่อนต่อไปได้ง่าย ส่วนที่เหลือให้เห็นอยู่โดยการเกิดลักษณะนี้ จึงมีรูปร่างเป็นหย่อมแตกต่างกัน