ชนเผ่าลีซู
ลีซอหรืออีกชื่อหนึ่งว่าลีซู ลีซูมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ต้นแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง ได้อพยพไปอยู่ที่ ยูนานในจีน ต่อมาได้อพยพเข้าในพม่า และเข้ามาอยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย เมื่อประมาณ ๖๐ ปีมานี้ ประชากรลีซอที่อยู่ในประเทศจีนมีราว ๕๐๐,๐๐๐ คน ในประเทศพม่า ๒๕๐,๐๐๐ คน และในประเทศไทย ๓๒,๐๐๐ คน ส่วนมากแล้วชาวลีซูอาศัยอยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและเพชรบูรณ์
การแต่งกายของเผ่าลีซู
เสื้อผ้าสตรีมีลักษณะคล้ายเสื้อคลุม ผ่าเฉียงจากคอลงไปถึงเข่าแทนกระโปรง ส่วนใหญ่ใช้สีฟ้าสดใส ช่วงแขนที่ยาวลงมาถึงข้อมือขลิบผ้าสีดำที่ริมชาย ตรงคอและไหล่ขลิบด้วยสีแดงชมพู คาดเป็นลายสวยงาม ที่เอวใช้ผ้าสีดำคาดเป็นเข็มขัด ส่วนชั้นในสวมกางเกงขายาวไว้เสมอ ตรงขอบกางเกงขลิบด้วยสีดำหรือสีม่วงและลายอื่น ๆ เสื้อลีซูหญิงมักใช้สีที่ดูเด่นเสมอ ส่วนเครื่องแต่งกายบุรุษสวมเสื้อคอกลมสีดำ ผ่าอกด้านขวาทับด้านซ้ายเป็นแนวเฉียงปักลวดลายสีขาวที่หน้าอก และประดับด้วยกระดุมสีเงินตามไหล่และคอ กางเกงขายาวเป้ากว้างสีดำ มีแถบตรงปลายขาสีฟ้า
ภาษาของเผ่าลีซู
ภาษาลีซูอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับภาษามูเซอและอีก้อ ซึ่งกลุ่มนี้รวมเรียกว่า “โลโล” (Loloish) ภาษากลุ่มโลโลมีความสัมพันธ์กับกลุ่มภาษาพม่า (Burmish) จึงรวมเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นเรียกว่า กลุ่มพม่า-โลโล (Burmese-Lolo) และกลุ่มภาษาพม่า-โลโลมีความสัมพันธ์กับภาษาธิเบต (Tibetan) จึงรวมกันเข้าเป็นตระกูลภาษาใหญ่ธิเบต-พม่า
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีการเกี้ยวสาว กล่าวการ่าความสุขที่ถือว่าสุดยอดของลูกผู้ชายชาวลีซู คือการดื่มเหล้า กินอาหารและได้เกี้ยวสาว ดังคำโคลงบทหนึ่งของลีซูว่า “ ผีเผ่อต่อ ซาเหย่ต่อ จ่าจํะ ตูบี่ขะ” ( ดื่มสุราจิบน้ำชาสรรหาอาหารร่วมรักสาวสะคราญ ) ดังนั้นในหมู่บ้านของลีซูจึงไม่ค่อยมีใครครองโสดได้นานถึง ๓๐ ปีเลย หนุ่มสาวลีซูอายุ ๑๔- ๑๖ ปี จะเริ่มรู้จักการเกี้ยวพาราสีและแต่งงานกันแล้ว การเกี้ยวสาวของหนุ่มลีซูมักจะเริ่มขึ้นที่บริเวณครกกระเดื่องตำข้าวกลางลานบ้าน หลังจากรับประทานอาหารเย็นเสร็จแล้ว โดยหญิงสาวลีซูจะสะพายกระบุงข้าวมาตำรอคอยชายหนุ่ม เสียงสากกระทบกับครกไม้ดังแว่วในหมู่บ้าน ทำให้จิตใจของหนุ่ม