วัดร่องขุ่นประวัติวัดร่องขุ่นเป็นวัดพุทธและวัดฮินดู ที่จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของเขา วัดร่องขุ่นได้ต้นแบบการสร้างมาจาก วัดมิ่งเมือง ใน จังหวัดน่าน
วัดพระแก้ว ได้ถูกจารึกไว้บนแผ่นทองเหลืองภายในวัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังนี้ (เฉพาะภาษาไทย)"ประวัติวัดพระแก้ว วัดพระแก้ว แต่เดิมชื่อวัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ (ค.ศ.๑๔๓๔) ฟ้าผ่าพระเจดีย์จึงได้พบพระแก้วมรกต (ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง) ชาวเมืองเชียงรายจึงได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดพระแก้ว" จนกระทั่งปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี "
วัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงเก่าแก่แต่โบราณกาล และเป็นศาสนาสถานอันเป็นศูนย์รวมใจของชาวเชียงรายมาอย่างยาวนาน มูลเหตุที่ได้ชื่อว่า วัดพระสิงห์ นั้นเชื่อกันว่า น่าจะมาจากการที่ครั้งหนึ่ง วัดนี้ เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยในปัจจุบัน คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า พระสิงห์