คนปกติและนักกีฬามีความต้องการสารอาหารเหมือนกัน ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามินเกลือแร่และน้ำ อย่างไรก็ตามนักีฬามีความต้องการอาหารมากกว่าคนปกติ
นักกีฬาจะมีความต้องการพลังงานซึ่งเรียกว่า แคลอรี่ มากกว่าคนปกติ อาหารทั้งสามชนิด ได้แก่
คาร์โบไฮเดรท โปรตีน และไขมัน จะให้พลังงานแก่ร่างกายในการทำงานประจำวันและฝึกซ้อมกีฬา ปริมาณของ
พลังงานจะแตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับรูปร่าง เพศ อายุ ความหนัก ระยะเวลา และความถี่ในการออกกำลัง
เราสามารถเพิ่มปริมาณของพลังงานโดยเลือกกินอาหารให้ถูกต้อง ถ้าเราทราบชนิดของสารอาหารในแต่ละชนิด [sm01]
อาหารสำหรับนักกีฬา3,10-12 ในการเก็บตัวนักกีฬาเพื่อ เตรียมความพร้อมให้นักกีฬามีสมรรถภาพกายซึ่งสมบูรณ์ที่สุดในวันแข่งขัน การจัดระบบโภชนาการที่ถูกต้องจะช่วยให้นักกีฬาใช้ความสามารถเต็มที่ อาหารก่อนการแข่งขันควรยึดหลักปฏิบัติดังนี้
1. ควรบริโภคอาหารก่อนทำการแข่งขันประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการจุกเสียด
2. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมันสูง เพราะจะทำให้ย่อยยาก
3. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เพราะทำให้นักกีฬากระหายน้ำในขณะแข่งขัน
4. หลีกเลี่ยงอาหารมีกากมาก เพราะทำให้มีอาการท้องอืด จุกเสียด
5. ไม่ควรลองบริโภคอาหารที่ไม่คุ้นเคย เพราะอาจทำให้ระบบการย่อยอาหารผิดปกติได้
อาหารสำหรับนักกีฬาในขณะแข่งขัน หากกีฬาที่การแข่ง เสร็จสิ้นภายในเวลา 30 นาที เช่น วิ่งระยะสั้น ยิมนาสติก กีฬา ประเภทลาน ไม่จำเป็นต้องให้ดื่มน้ำในขณะแข่งขัน หากการแข่งขัน ซึ่งใช้เวลาในการแข่งขันนานเกิน 30 นาที เช่น ฟุตบอล ควรให้นักกีฬาดื่มน้ำระหว่างช่วงพักครึ่ง ส่วนการแข่งขันประเภท วิ่งระยะทางไกล ปั่นจักรยาน ควรให้ดื่มน้ำในขณะแข่งขัน โดยให้ ครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการจุกเสียดท้อง และทดแทนการสูญเสียเหงื่อ
ส่วนอาหารหลังการแข่งขัน นักกีฬาควรดื่มน้ำเพื่อทดแทน ปริมาณน้ำที่สูญเสียไป และอาหารมื้อถัดไปควรบริโภคอาหาร ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (ร้อยละ 60-70) ไขมันต่ำ และโปรตีนปกติ เพื่อร่างกายจะนำไปสังเคราะห์เป็นกลัยโคเจนทดแทนส่วนที่หายไป