พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ เป็นต้น มีหลักคำสอนที่สำคัญในพุทธศาสนามากมาย พุทธปรัชญามองมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ “ธรรมชาติรอบตัวมนุษย์ก็คือชีวิตที่แล่นอยู่ในตัวมนุษย์นั่นเอง” ได้แสดงถึงปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศ กล่าวคือ การพัฒนายิ่งรุดหน้าปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษยิ่งก่อตัวและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการนำเอาทรัพยากรมาใช้ประโยชน์แต่ไม่ได้มีการวางแผนการจัดการทีเหมาะสมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลงวิธีการที่เป็นอยู่กลมกลืนกับธรรมชาติ เป็นเพื่อนกับธรรมชาติ ไม่ก้าวร้าวและพิชิตธรรมชาติ
พุทธศาสนาเสนอวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรู้จักพอ ประพฤติปฏิบัติตนด้วยการใช้ปัญญาและพัฒนาจิต อยู่กับธรรมชาติไม่ควรเบียดเบียนธรรมชาติ พระองค์ประกาศหลักธรรมแก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดแห่งชาติ เพศ เผ่าพันธุ์ สีผิว วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิต เพราะต่างล้วนเป็นผลผลิตมาจากกฏธรรมชาติเดียวกัน ยิ่งมองให้ลึกซึ้งในขั้นปรมัตถสภาวธรรม ก็ยิ่งพบว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีเราเขา มีแต่กระแสธรรมชาติล้วนๆ เท่านั้นที่กำลังไหลไปตามกฎของธรรมชาติ ต่อมามีผู้คนจำนวนมากเข้าใจธรรมะของพระองค์ บ้างก็อยู่เหย้าเรือน บ้างก็มาสมัครใจใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ท่ามกลางป่าเขา อันสงบเย็น เป็นแบบอย่างชีวิตที่บริโภคทรัพยากรธรรมชาติเพียงเพื่อยังชีพ ไม่แตะต้องส่วนเกินมาตอบสนองกิเลสตัณหาตามรอยบาทของพระศาสดา กลุ่มชนเหล่านี้เรียกว่าพระสงฆ์ เมื่อมาอยู่ร่วมกันมากๆ จะเป็นต้องมีกฎระเบียบ สำหรับเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันของหมู่คณะเรียกว่า ธรรมวินัย ซึ่งบัญญัติเป็นข้อปฏิบัติออกมา โดยหลักการมุ่งบำรุงรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในสภาพปกติ