ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษ
ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐานแน่นอน มีการจด
บันทึกไว้พอสังเขป ส่วนมากได้จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ
เล่าต่อๆ กันมา เอาความแน่นอนไม่ได้นัก นักประวัติศาสตร์
และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พื้นที่ภาคอีสานในปัจจุบันเคย
เป็นที่อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอาณาเขตปกครอง
เรียกว่า "อาณาจักรฟูนัน"
ประมาณปี พ.ศ.1100 พวกละว้าที่เคยมีอำนาจปกครอง
อาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้ามามีอำนาจแทนและตั้ง
อาณาจักรเจนละหรืออิศานปุระขึ้น พวกละว้าถอยร่นไปทาง
เหนือ ปล่อยให้พื้นที่ภาคอีสานรกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมาก
เขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงจึงถูกทิ้งให้เป็น
ที่รกร้างและเป็นป่าดง ขอมได้แบ่งการปกครองเป็น 3 ภาค
โดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่ละโว้(ลพบุรี) พิมาย(นครราชสีมา)
และสกลนคร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อศูนย์
กลางการปกครองใหญ่ที่นครวัด
ในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ศรีสะเกษน่าจะเป็นดินแดนแห่ง
หนึ่งที่ขอมใช้เป็นเส้นทางไปมาระหว่างเมืองประเทศราชดัง
กล่าวแล้ว เพราะปรากฎโบราณสถานโบราณวัตถุของขอมซึ่งกรม
ศิลปากรสำรวจในจังหวัดศรีสะเกษเมื่อ พ.ศ.2512 จำนวน
15 แห่ง ไม่รวมเขาพระวิหารซึ่งเป็นเทวะสถานของขอมที่ยิ่ง
ใหญ่แห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปราสาทหินสระกำแพงใหญ่
สระกำแพงน้อย ปราสาทลุมพุก ปราสาทบ้านทามจาน(บ้านสมอ)
ปราสาทเยอ ปราสาทโดนต็วล (ช่องตาเฒ่า อ.กันทรลักษ์)
สันนิษฐานว่าโบราณสถานเหล่านี้มีอายุประมาณ 1,000 ปีเศษ
มีอยู่ตามท้องที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ ขอมคงสร้างขึ้น
เพื่อเป็นที่พักและประกอบพิธีทางศาสนาระหว่างเดินทางจาก
นครวัด นครธมข้ามเทือกเขาพนมดงรักษ์มาสู่ศูนย์กลางการ
ปกครองภาคอีสานทั้ง 3 เมืองดังกล่าวแล้ว
เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยเริ่มมีอำนาจครอบครองดินแดน
เหล่านี้ ขณะเดียวกันจังหวัดศรีสะเกษมีสภาพเป็นป่าดงอยู่นาน
เพราะแม้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางก็มิได้บันทึกกล่าวถึง
จังหวัดศรีสะเกษในเอกสารใด เพิ่งจะได้มีการบันทึกหลัก
ฐานในพงศาวดารกล่าวถึงเมืองสุรินทร์ด้วย
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรไทยกว้างขวางมาก มีชาว
บ้านป่าซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ( MINORITY TRIBE )อาศัยอยู่แถบ
เมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาสักฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชนพวกนี้เรียก
ตัวเองว่า "ข่า" ส่วย" "กวย" หรือ "กุย" อยู่ในดินแดนของราช
อาณาจักรไทย โดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2436
หรือ ร.ศ.112) พากนี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามา
เลี้ยงไว้ใช้งาน ชาวส่วยหรือชาวกวยได้อพยพย้ายที่ทำมาหากิน
ข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขง เนื่องจากชาวเมืองศรีสัตนาคนหุต
(เวียงจันทน์) ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานแย่งที่ทำมาหากิน
ในปี พ.ศ.2260 ชาวส่วยได้อพยพแยกออกเป็นหลายพวก
ด้วยกัน แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมมา เช่น เซียงปุม เซียงสี
เซียงสง ตากะจะและเซียงขัน เซียงฆะ เซียงไชย หัวหน้าแต่
ละคนก็ได้หาสมัครพรรคพวกไปตั้งรกรากในที่ต่าง ๆ กัน
เวียงปุม อยู่ที่บ้านที เซียงสีหรือตะกะอาม อยู่ที่รัตนบุรี เซียงสง
อยู่บ้านเมือลีง (อำเภอจอมพระ) เซียงฆะ อยู่ที่สังขะ เวียงไชย
อยู่บ้านจารพัด (อำเภอศรีขรภูมิ) ส่วนตากะจะและเซียงขัน อยู่
ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน(บ้านดวนใหญ่ปัจจุบัน)
พวกส่วยเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ หาเลี้ยงชีพด้วย
การเกษตรและหาของป่ามาบริโภคใช้สอย มีการไปมาหาสู่ติด
ต่อกันระหว่างพวกส่วยอยู่เสมอ มีสภาพภูมิประเทสติดต่อเขต
กัมพูชา และมีเทือกเขาพนมดงรักเป็นเส้นกันเขตแดน ป่าดง
เขตนี้มีฝูงสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ โขลงช้างพัง ชางพลาย ฝูงเก้ง
กวาง ละมั่งและโคแดงอยู่มากมายตามทุ่งหญ้าและราวป่า เหมาะ
กับการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวส่วยอย่างยิ่ง
ลุ พ.ศ.2302 ปีเถาะ จุลศักราช 1181 ตรงกับสมัยแผ่นดิน
พระบรมราชาที่ 3 หรือพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์
(พระเจ้าเอกทัศน์) กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุง
ศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกของพระองค์ได้แตกออกจากโรงช้าง
ต้นในกรุงศรีอยุธยา เดินทางมาทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โปรด
ให้ทหารเอกคู่พระทัยสองพี่น้อง (เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าพระยามหา
กษัตริย์ศึก พระนามเดิมทองด้วง และกรมพระราชวังบวรมหา
สุรสิงหนาท พระนามเดิมบุญมา) คุมไพร่พล 30 นาย ออกติด
ตามผ่านมาแขวงพิมาย ทราบจากเจ้าเมืองพิมายว่า ในดงริมเขา
พนมดงรักมีพวกส่วยชำนาญใชการจับช้าง เลี้ยงช้าง สองพี่น้อง
กับไพร่พล จึงได้ติดตามสองพี่น้องไปเซียงสีไปที่บ้านกุดหวาย
(อำเภอรัตนบุรี) เซียงสีจึงได้พาสองพี่น้องและไพร่พลไปตามหา
เซียงสง ที่บ้านเมืองลีง เซียงปุ่มที่บ้านเมืองที เซียงไชยที่บ้าน
กุดปะไท ตากะจะและเซียงขัน ที่บ้านโคกลำดวน เซียฆะที่บ้าน
อัจจะปะนึง (เขตอำเภอสังขะ) ทุกคนร่วมเดินทางติดตาม
พระยาช้างเผือก สองพี่น้องและหัวหน้าป่าดงทั้งหมด ได้ติดตาม
ล้อมจับพระยาช้างเผือกได้ที่บ้านหนองโชก ได้คืนมาและนำส่ง
ถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวสริยามรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หัวหน้า
บ้านป่าดงมีบรรดาศักด์ทั้งหมด ตากะจะหัวหน้าหมู่บ้านโคกลำ-
ดวน ได้เป็นหลวงแก้วสุวรรณเซียงขันได้เป็นหลวงปราบอยู่กับ
ตากะจะ
ต่อมาหัวหน้าหมู่บ้านป่าดงทั้ง 5 ได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา โดยนำสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย คือ
ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นกระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง
น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามพระราชประเพณี สมเด็จพระเจ้าอยู่
หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทรงพิจารณาเห็นความดีความชอบ
เมื่อครั้งได้ช่วยเหลือจับพระยาช้างเผือก และเมื่อหัวหน้า
หมู่บ้านได้นำสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้นทุกคน
ในปี พ.ศ.2302 นี้เอง หลวงแก้วสุวรรณ(ตากะจะ) บ้านโคก
ลำดวนได้บรรดาศักดิ์เป็นเป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
มีพระบรมราชโองการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งเดิม
เรียกว่า "เมืองศรีนครลำดวน" ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์แปลว่า
"เมืองป่าดง" ให้พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้าเมืองปกครอง
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 แล้ว สมเด็จ
พระเจ้ากรุ