เนื่องจากการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงรายได้เริ่มสูญหายไป ซึ่งเป็นผลมาจากค่านิยมทางชาติตะวันตกและความคิดเรื่องการแบ่งชนชั้น ร่วมกับการขาดการส่งต่อภูมิความรู้สู่เยาวชนรุ่นหลัง ทำให้ทางจังหวัดเชียงรายมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในหลายพื้นทีเพื่อเป็นการอนุรักษ์ แต่ปัญหาที่พบคือมีการกระตัวของแหล่งข้อมูลทำให้เข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ยากและมีรูปแบบการจัดแสดงที่ไม่น่าสนใจ จึงควรมีโครงการเสนอแนะออกแบบพิพิธภัณฑ์เครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ ศิลปะลวดลายการทอผ้า รวมถึงเป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องแต่งกายที่น่าสนใจ
โครงการเสนอแนะออกแบบพิพิธภัณฑ์เครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงรายเป็นโครงการที่เน้นกลุ่มผู้ใช้เป็นเยาวชน นักเรียนนักศึกษา เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกดังนั้นโครงการจึงตั้งอยู่ที่บริเวณศาลากลางหลังเก่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งใกล้กับสถานศึกษาหลายแห่งและใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด โดยโครงการจะให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ ๖ ชนเผ่าประกอบด้วย กะเหรี่ยง อาข่า เมี้ยน ลาหู่ มูเซอและ ม้ง โดยใช้อาคารศาลากลางหลังเก่าและอาคาร ๗๕๐ ปีเมืองเชียงราย โดยภาพลักษณ์ของอาคารสื่อถึงการอนุรักษ์และมีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมทำให้เป็นที่จดจำได้ง่าย โดยการศึกษาโครงการเป็นการรวบรวมข้อมูลจากทางจังหวัดเชียงราย จากหนังสือต่างๆ นิทรรศการ รวมถึงการศึกษาข้อมูลการจัดแสดงนิทรรศการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น กฎหมายอาคาร กฎหมายที่ดิน โดยแนวคิดในการออกแบบเป็นการสื่อถึงเอกลักษณ์และศิลปะของเครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์กับช่วงเวลา ซึ่งการทำโครงการทำให้ทราบถึงวิธีการจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์และเอกลักษณ์ลวดลายเครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์