(Psycholinguistics) ภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่เกิดใหม่มีอายุน้อย คำ psycholinguistics ในครั้งแรกที่ใช้นั้นมุ่งพรรณนาภาษาของคนที่พูดออกมา (Output) โดยแบ่งเป็นหน่วยทางการวิเคราะห์เป็น “หน่วยเสียง” “หน่วยคำ” และ “ข้อความ” ซึ่งชัดเจนกว่าคำว่า “ตัวอักษร” “คำ” และ “ประโยค” การศึกษาภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา ได้แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มของ Skinner เชื่อว่า พฤติกรรมทางภาษาเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นและการวางเงื่อนไข ๒.กลุ่มของ Chomsky เชื่อว่า เจ้าของภาษามีความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางภาษา นั่นคือสมองมีความสำคัญ และคล้าย ๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการวางแผนหรือตั้งโปรแกรมให้มันทำงาน มนุษย์เราพูดได้เพราะถูกวางโปรแกรมมาแล้ว โดยเฉพาะคือ สมองมนุษย์ถูกสกัดมาให้มีเครื่องมือทำงานด้านภาษา ๒.๕ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics) ภาษาศาสตร์ประยุกต์ เป็นวิชาภาษาศาสตร์ที่นำเอาความรู้จากภาษาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาใช้เป็นประโยชน์ในเฉพาะด้าน เช่น การสอนภาษาแรกและการสอนภาษาที่สอง การสร้างภาษาเขียนให้กับภาษาที่ยังไม่มีตัวเขียน การแบ่งเขตภาษาถิ่น การแก้ไขข้อบกพร่องในการพูดของผู้ป่วย และการแปล เป็นต้น