What are the barriers towards the AEC Blueprint
เหลือเวลาอีกเพียงปีเศษๆเท่านั้นที่ ไทยและอีก 9 ประเทศจะรวมเป็นเขตเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงต้นๆก็ย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นบ้าง ทำให้แต่ละประเทศก็จำเป็นต้องปรับแก้และดำเนินการตามข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้
ทั้งไทยและอาเซียนกำลังดำเนินงานตามกรอบแผนงานในพิมพ์เขียวหรือ AEC Blueprint ซึ่งเป็นแผนบูรณาการงานทางด้านเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อมุ่งไปสู่ความเป็น AEC ที่ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก 4 ประเด็นด้วยกันคือ
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
การก้าวไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนนั้นเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่จะทำให้เป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียนเข้าสู่รูปธรรมมากขึ้น อันจะเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือได้อย่างเสรี และมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้อย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งให้ประชาคมอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ดึงดูดนักลงทุนทั้งจากในและนอกกลุ่มอาเซียน พร้อมทั้งให้อาเซียนมีความพร้อมในการที่จะบูรณาการระบบเศรษฐกิจของตัวเองเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์
ปัญหาและอุปสรรคที่ต้องแก้ไขของไทยและประชาคมอาเซียน
จากการจัดการประชุมและระดมความคิดเห็นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก่อให้เกิดข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยและประเทศในประชาคมอาเซียนดังต่อไปนี้ เพื่อให้การผลักดันการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์
1. หน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของผู้นำอาเซียน แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการอาเซียนในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปสู่การจัดทำนโยบายในระดับต่างๆ และจัดให้มีการทำโครงการและกิจกรรมต่างๆเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและมีบูรณาการ เช่น แผนปฏิบัติการด้านความร่วมมือพลังงาน แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน และแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาอาเซียน เป็นต้น
2. การให้ความรู้และสร้างความตระหนักในสิ่งที่ไทยและอาเซียนจะได้รับจากการเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และควรเร่งรัดการดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนซึ่งสามารถดำเนินการได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดเสวนาอาเซียน อาเซียนสัญจร การให้การสนับสนุนด้านบุคคลากรกับส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างองค์ความรู้เกียวกับอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3. การเดรียมความพร้อมด้านตัวบทกฏหมาย เช่น การเร่งจัดทำหรือแก้ไขกฏระเบียบต่างๆภายในประเทศตามพันธกรณีที่แต่ละประเทศสมาชิกได้มีต่อกัน โดยในส่วนของไทยยังมีกฏหมายหลายฉบับที่ยังเป็นอุปสรรคกับพันธกรณีของอาเซียน เช่นกฏหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว (ธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์) ด้านการศึกษา (พรบ โรงเรียนเอกชน พรบ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องหลักเกณฑ์การจัดตั้งและดำเนินกิจการโรงเรียนเป็นต้น ) สาขาโทรคมนาคม (พรบ การประกอบกิจการโทรคมนาคม ) เป็นต้น
4. ควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกับเอกชน โดยเฉพาะ SME2 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเสรีและการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น การเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต การกำหนดมาตรการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้า การจัดทำการตลาดเชิงรุก การสร้งเครือข่ายการผลิตในระดับภูมิภาค และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวควรทำทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในเขตชายแดนที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชากรของทั้งสองฝ่ายมากขึ้น
5. ควรให้ภาคเอกชนปรับแนวทางในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยให้มองว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้ประโยชน์จากการตลาดและฐานการผลิตที่มีขนาดใหญ่ของอาเซียน โดยเมื่อมีการรวมกันเป็น AEC แล้วอาเซียนจะเป็นตลาดที่มีประชากรประมาณ 600 ล้านคนเลยทีเดียว ซึ่งอาเซียนจะมีบทบาทและความสำคญเพิ่มขี้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงที่ภูมิภาคอื่นกำลังประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้