ผลบวกและผลลบที่เกิดขึ้น
1. ปัญหาเรื่องแรงงาน จะมีปัญหาการโยกย้ายของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานราคาถูกจากพม่า และกัมพูชา ซึ่งเป็นไปได้สูงที่แรงงานเหล่านี้จะเคลื่อนจากประเทศไทยกลับไปยังประเทศตัวเอง หรือ ไปสู่แหล่งจ้างแรงงานใหม่ที่ดีกว่า
2. ศักยภาพทางด้านภาษา มีความเป็นไปได้สูงที่การว่าจ้างแรงงานอาจต้องเป็นลักษณะการว่าจ้างจากหลากหลายชาติตามความเหมาะสมของศักยภาพในการทำงาน ตัวอย่างเช่น การว่าจ้างนักบัญชีที่เก่ง ๆ จากสิงคโปร์ พนักงานการตลาดที่ใช้ภาษาอังกฤษดีจากฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกันแรงงานไทยถ้าต้องการหาโอกาสที่ดีในตลาดอาเซียนก็คงต้องปรับตัวในเรื่องของภาษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวข้อนี้นับเป็นโจทย์ที่ใหญ่โตทีเดียว
3. ประเทศไทยจะเจอคู่แข่งขันหลายด้าน เอาเฉพาะเรื่องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเดียว ด้านหนึ่งเราถูกขนาบด้วยพม่า ซึ่งยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ในอีกด้านถูกขนาบด้วยกัมพูชา ซึ่งตั้งเป้าหลังจาก 5 ปีข้างหน้า จะดึงนักท่องเที่ยวจากจีนเข้าสู่ประเทศให้ได้ปีละ 1 ล้านคน ขณะนี้มีการเตรียมตัววางบุคลากรให้เรียนภาษาจีน เพื่อรองรับตลาดการท่องเที่ยวจากจีนที่มีแนวโน้มจะเพิ่มเข้ามาประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
4. การเมืองไทย ยังเป็นเช่นนี้จะกลายเป็นปัจจัยที่บ่อนทำลายตัวเอง ทำลายศักยภาพในการแข่งขัน การเมืองของประเทศไทยจะต้องก้าวเข้าสู่วิถีของการปรองดองเท่านั้น ทั้งหมดจึงมีคำตอบว่าโอกาสที่อาเซียนจะเป็นผลด้านบวกให้กับประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าไม่ใช่เรื่องง่าย เราคงต้องปรับตัวเองเกือบทุกด้าน ทั้งในด้านการเมือง ภาคเอกชน คุณภาพของบุคลากรด้วย