โครงงาน “ วุ้นใสวัยแจ๋ว ” ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเชิงปฏิบัติในการทำขนมวุ้นโดยมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้
1. ร่วมกลุ่มกันทำโครงงาน
2. วางแผนการทำงาน
3. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการทำโครงงาน
4. ดำเนินงานตามเป้าหมาย
5. รวบรวมข้อมูลที่ได้
6. นำเสนอผลงาน
การทำโครงงานวุ้นในครั้งนี้ ทำให้เรารู้จักคิดและแก้ไขปัญหาเป็น จนได้วุ้นที่มีความอร่อย
ข
คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์ศุภาสินี วิรัชดิฐ ที่คอยให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำในการทำโครงงานในครั้งนี้จนกระทั่งงานสำเร็จลุล่วงด้วยไปดี
ขอขอบพระคุณ คุณย่า คุณพ่อ คุณแม่ของคณะผู้จัดทำที่กรุณาช่วยเหลือให้ข้อมูลและสนับสนุนการจัดทำโครงงานในครั้งนี้
คณะผู้จัดทำ
20 กุมภาพันธ์ 2547
ค
โครงงานการทำวุ้นนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงวิธีการทำขนมวุ้น เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติ ทำให้สามารถทำได้จริง ซึ่งได้นำเสนอวิธีการทำขนมวุ้นในแบบต่างๆ ซึ่งคณะผู้จัดทำหวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจไม่มากก็น้อย
คณะผู้จัดทำ
20 กุมภาพันธ์ 2547
ง
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
คำนำ ค
บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน 1
วัตถุประสงค์ในการทำโครงงาน 2
ขอบเขตการศึกษาในการทำโครงงาน 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3
บทที่ 3 การดำเนินงาน 4
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 5
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาเชิงปฏิบัติ 9
อภิปรายผลการปฏิบัติ 9
ข้อเสนอแนะ 9
ประโยชน์ที่ได้รับ 10
บรรณานุกรม 11
1
ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ผงวุ้น เป็นผงวุ้นสำเร็จรูป มีลักษณะเป็นผงละเอียด สีขาว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า BEST QUALITY AGAR-AGAR POWDER ผลิตขึ้นใช้ในประเทศไทย มีตราต่าง ๆ มากมาย เช่น ตรานางกวัก ตราโบว์ ตราโทรศัพท์ ตราตาชั่ง เป็นต้น วุ้นถูกบรรจุเป็นซอง ๆ ขนาดน้ำหนักประมาณ 25-50 กรัมต่อซอง ที่ซองจะมีคำอธิบายวิธีการทำให้ทราบ และจะมีปริมาณสารอาหารให้ทราบว่าสารอาหารที่ได้จากวุ้น แต่ส่วนใหญ่สารอาหารที่ได้จากวุ้นจะน้อย ไม่มีไขมันและโปรตีน เหมาะสำหรับใช้ทำขนมวุ้น เป็นอาหารว่างสำหรับคนทั่วไปและดีสำหรับคนที่ไม่ต้องการอ้วน
ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาการทำขนมวุ้น โดยการศึกษาจาก เอกสาร การสัมภาษณ์ และทดลองปฏิบัติจริง
2
วัตถุประสงค์ในการทำโครงงาน
1. เพื่อศึกษาวิธีการทำขนมวุ้น
2. เพื่อปฏิบัติจริงในการทำขนมวุ้น
ขอบเขตการศึกษา
1. ศึกษาโดยใช้ผงวุ้นตราโบว์เท่านั้น
2. ศึกษาจากเอกสาร สัมภาษณ์ผู้รู้และได้ปฏิบัติจริงโดยคณะผู้จัดทำ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบวิธีการทำขนมวุ้นในแบบต่าง ๆ
2. ทำให้สามารถทำขนมวุ้นรับประทานเองได้
3. สามารถนำไปทำเป็นอาชีพเสริมได้
3
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
คณะผู้จัดทำได้ศึกษาถึงวิธีการทำจากเอกสาร การทำขนมวุ้น ของบริษัทเจริญเลิศทวี พร้อมทั้งได้สัมภาษณ์ผู้รู้ในการทำขนมวุ้นประกอบกันแล้วจึงทดลองปฏิบัติ
4
การดำเนินงาน
การดำเนินงานของคณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ร่วมกลุ่มกันทำโครงงาน
2. วางแผนการทำงาน
3. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการทำโครงงาน
4. ดำเนินงานตามเป้าหมาย
5. รวบรวมข้อมูลที่ได้
6. นำเสนอผลงาน
5
ผลการดำเนินงาน
ผลการศึกษาทำให้ทราบการทำขนมวุ้นดังนี้
อุปกรณ์ในการทำวุ้น
1. หม้อสำหรับต้มวุ้น
2. ช้อนสำหรับกวน
3. แบบพิมพ์ต่าง ๆ
4. เตาไฟ
6
รูปที่ 1 อุปกรณ์ในการทำวุ้น
ส่วนผสมในการทำขนมวุ้น
1. ผงวุ้น
2. น้ำตาลทราย
3. น้ำ
4. น้ำหวานรสต่าง ๆ
5. เกล็ดกาแฟ
6. ไมโลผง
7. ไข่ไก่
8. เมล็ดแมงลัก
7
รูปที่ 2 ส่วนผสมสำหรับทำขนมวุ้น
จากการศึกษาทำให้ทราบวิธีทำขนมวุ้นดังนี้
วิธีทำขนมวุ้น
การทำขนมวุ้นโดยนำผงวุ้นตราโบว์ขนาด 25 กรัม 1 ถุง ผสมกับน้ำประมาณ 3 กิโลกรัม ต้มให้เดือด เมื่อผงวุ้นละลายแล้วใส่น้ำตาลชิมตามชอบ เมื่อเคี่ยวเสร็จแยกน้ำวุ้นใส่หลาย ภาชนะ เพื่อจะได้วุ้นหลายรส เมื่อต้องการรสใดก็นำส่วนผสมมาเคี่ยวผสมกับวุ้น เช่น รสกาแฟ ไมโล ไข่ แล้วตักใส่แบบพิมพ์รูปต่างๆ ตามต้องการ รอประมาณ 2-3 ชั่วโมง วุ้นจะแข็งสามารถแกะออกจากแบบพิมพ์ได้ ดังกลอนนี้
8
กลอน 8 วุ้นของเรา
น้ำในหม้อพอดีต้มให้เดือด ถุงถูกเชือดเทลงใส่ผงวุ้น
คนให้ทั่วน้ำหวานใส่พอใจคุณ ค่อยๆลุ้นยกลงเทใส่แม่พิมพ์
ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นและแข็งตัว เห็นว่าชัวร์แกะออกแบบแอบอมยิ้ม
จัดใส่จานให้สวยแล้วค่อยๆชิม ใครลองชิมไม่รู้เบื่อเชื่อมือเรา
.
.
9
สรุปผลการศึกษาเรื่องการทำขนมวุ้น
สรุปผลการศึกษาเรื่องการทำขนมวุ้น
การทำโครงงานเรื่องการทำขนมวุ้นทำให้สมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้ถึงการทำขนมวุ้นแบบต่าง ๆ ที่มีรสต่าง ๆ กันโดยมีหลักการคือ ใช้ผงวุ้นผสมน้ำต้มให้เดือดแล้วจึงใส่น้ำตาล ใส่รสตามต้องการแล้วตักใส่แบบพิมพ์ ทิ้งไว้ให้เย็นในอุณหภูมิปกติจนกระทั่งวุ้นแข็งตัว แกะออกจากแบบพิมพ์ สามารถรับประทานได้
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาเรื่องการทำขนมวุ้นทำให้คณะผู้จัดทำได้มีโอกาสทำงานเป็นกลุ่ม สมาชิกมีการแบ่งงานกันทำ ช่วยเหลือกัน ทำให้เรียนรู้วิธีการทำขนมวุ้นร่วมกัน ได้ปฏิบัติร่วมกัน รวมทั้งช่วยกันเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการทำขนมวุ้นนี้ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง จากผลการปฏิบัติทำขนมวุ้นครั้งนี้ทำให้ทราบว่ามีข้อพึงระวังคือ การทำวุ้นที่ดีต้องกะปริมาณน้ำให้พอดีกับผงวุ้น ซึ่งถ้าใส่น้ำมากไปจะทำให้วุ้นแข็งตัวช้าและไม่ค่อยอยู่ทรง ถ้าน้ำน้อยวุ้นที่ได้จะแข็งมาก การทำวุ้นไข่ ควรใส่ไข่ขณะที่น้ำวุ้นเดือดไม่เช่นนั้นจะทำให้มีกลิ่นคาวมาก การทำวุ้นกาแฟ ไ