ในบรรดาแบรนด์สินค้าของไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกนั้น กระทิงแดง ดูจะเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นในเวทีโลกมากที่สุด ด้วยการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาหลายประเภทนับตั้งแต่สเก็ตบอร์ดไปจนถึงรถสูตรหนึ่ง รวม ถึงกิจกรรมแบบเอ็กซ์ตรีมต่างๆ
แต่หากสังเกตให้ดีจะพบว่า แบรนด์ "กระทิงแดง" ของไทย กับ "Red Bull" ที่วางจำหน่ายในต่างประเทศนั้นมีความแตกต่างกันนอกเหนือจากภาษาที่ใช้เขียน
จุดสำคัญที่กระทิงแดง กับ Red Bull แตกต่างกันทั้งเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ก็คือ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ โดยสามารถสังเกตได้จากบรรดาผู้คนที่เข้าร่วมงานที่ Red Bull เป็นผู้สนับสนุนหรือเป็นผู้จัดนั้นจะเต็มไปด้วยเด็กหนุ่มวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ซึ่งจะแตกต่างจากผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายของกระทิงแดงในประเทศไทย
การจะอธิบายความแตกต่างนี้ได้จำเป็นจะต้องเท้าความถึงความเป็นมาของกระทิงแดงเสียก่อนว่ามีต้นกำเนิดอย่างไร และเหตุใดจึงไม่วางจำหน่ายในต่างประเทศด้วยแบรนด์ "กระทิงแดง" หรือสะกดแบบทับศัพท์ว่า "Krating Daeng" เหมือนแบรนด์ทั่วไป
+ จุดกำเนิดเดียวกัน
แต่เดิมกระทิงแดง เป็นเครื่องดื่มชูกำลังที่คิดค้นโดย นายเฉลียว อยู่วิทยา ตั้งแต่ช่วงประมาณปี พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) โดยเริ่มวางจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย จากนั้นจึงเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียช่วงปี พ.ศ. 2523 โดยเป็นที่นิยมในหมู่คนขับรถบรรทุก คนงานก่อสร้างและเกษตรกร
ต่อมาในปี พ.ศ.2525 นักธุรกิจจากประเทศออสเตรียชื่อ ดีทริช เมเทสซิทซ์ ได้เดินทางมายังประเทศไทย และได้ดื่มกระทิงแดงเพื่อแก้อาการเจ็ตแล็ค ซึ่งนายดีทริชชื่นชอบเครื่องดื่มนี้มากและเกิดไอเดียที่จะนำไปขายยังประเทศบ้านเกิดของตน
โดยในขณะนั้นเครื่องดื่มชูกำลังยังเป็นสินค้า ที่ไม่แพร่หลายนัก ในแถบเอเชียผู้เล่นหลักมีเพียงลิโพวิตัน-ดี จากประเทศญี่ปุ่น ส่วนในยุโรปเองมีผู้บุกเบิกคือบริษัทลิซา (Lisa) ซึ่งวางจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังในชื่อ Power Horse เท่านั้น
ตัวดีทริชเองในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดต่างประเทศของบริษัท Blendax ซึ่งเป็นบริษัทผลิตยาสีฟันวางจำหน่ายในหลายประเทศ
ในปี พ.ศ.2527 ดีทริชได้ก่อตั้งบริษัทเรดบูล (Red Bull GmbH) ในประเทศออสเตรียร่วมกับนายเฉลียว อยู่วิทยา โดย นายดีทริช เมเทสซิทซ์ ถือหุ้น 49% และนายเฉลียว อยู่วิทยา ถือหุ้น 49% และลูกชายเฉลิม อยู่วิทยา ถือหุ้น 2% โดยมีการตกลงกันว่า ดีทริชจะเป็นผู้รับผิดชอบการบริหาร ซึ่งดีทริชใช้เวลาระหว่างปี พ.ศ.2527-2530 พัฒนา สูตรและแผนการตลาดสำหรับวางจำหน่าย Red Bull ในยุโรป
ต่อมาปี พ.ศ.2530 บริษัทได้เริ่มวางจำหน่าย เครื่องดื่มชูกำลังในประเทศออสเตรียโดยใช้ชื่อว่า เรดบูล (Red Bull) ที่แปลว่ากระทิงแดง โดยขณะนั้น ยังเป็นรูปแบบของน้ำอัดลม
บริษัทได้เริ่มขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ ในอีก 5 ปีต่อมา โดยวางจำหน่ายในประเทศฮังการีและสโลเวนีย จากนั้นจึงรุกไปยังตลาดสหรัฐฯ ในปี พ.ศ.2540 และตะวันออกกลางในปี พ.ศ.2543
อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา Red Bull ได้ถูกห้ามขายในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส นอร์เวย์ เดนมาร์กและแคนาดา เป็นต้น เนื่องจาก ความเคลือบแคลงในผลของส่วนผสมอย่างกาเฟอีน และเทารีนที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ดื่ม
ปัจจุบันประเทศเดนมาร์กเป็นเพียงประเทศเดียวในยุโรปที่ไม่อนุญาตให้ขายกระทิงแดงในประเทศของตน ในขณะที่ประเทศนอร์เวย์ได้อนุญาตให้ขายกระทิงแดงในประเทศได้แล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 และในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ประเทศฝรั่งเศสได้นำกระทิงแดงเข้ามาขายซึ่งค่อนข้างได้รับความนิยมในหมู่นักเรียนชั้นมัธยมปลาย สามารถหาซื้อได้ไม่ยาก เช่น ตามร้านสะดวกซื้อหรือตามซูเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Mono-prix
นอกจากในประเทศไทยที่ใช้ชื่อสินค้าว่า กระทิงแดงแล้วนั้นยังมีประเทศอินโดนีเซียที่ใช้คำว่า กระทิงแดง เช่นเดียวกับไทย
+ แตกต่างอย่างสร้างสรรค์
ในด้านการทำตลาดนั้น แบรนด์กระทิงแดง และ Red Bull มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดหลายประการตั้งแต่กลยุทธ์ บรรจุภัณฑ์ไปจนถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ โดยในตลาดตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกา เครื่องดื่ม Red Bull จะวางตำแหน่ง ของตนไว้เป็นเครื่องดื่มสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยหรือคนทำงานที่ต้องการความสดชื่นและตื่นตัว
แม้จะได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่ในช่วงทดลองตลาดนั้น Red Bull กลับไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคด้วยรสชาติที่ไม่ถูกปากและสีสันที่ไม่น่ารับประทาน ทำให้ดีทริชต้องใช้เวลาถึง 3 ปีหลังจากตั้งบริษัทในการปรับปรุงสูตรและวางแผน สำหรับตลาดยุโรปที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับตลาดเอเชีย
โดย Red Bull วางตำแหน่งตนเองเป็นเครื่องดื่มระดับพรีเมี่ยมด้วยการจำหน่ายในราคาที่แพงกว่าเครื่องดื่มยอดนิยมอย่างโค้กที่ 8-10 เท่า เพื่อตอกย้ำความเป็นพรีเพี่ยมและแยกตัวออกจาก ตลาดน้ำอัดลมอย่างชัดเจน
เพื่อการนี้ Red Bull ได้ส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ชอบการผจญภัยและความตื่นเต้นด้วยการเข้าเป็นผู้สนับสนุนกีฬาหลาก หลายประเภทที่ใช้ความเร็วและความอึด เช่น วิ่งมาราธอน แข่งรถสูตรหนึ่ง จักรยานยนต์วิบาก รวมถึงกีฬาเอ็กซ์ตรีม เช่น สเก็ตบอร์ด จักรยานผาดแผลง ขับรถไต่หน้าผา กระโดดร่ม รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ เช่น แอร์โชว์ Red Bull Air Race งานแสดงดนตรีและ Red Bull Stratos ที่เป็นการกระโดดร่มลงจากบอลลูนที่ความสูง 39 กิโลเมตร
กลยุทธ์การตลาดเหล่านี้ช่วยให้ Red Bull มีความใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น ทั้งยังเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้ผู้ดื่มมีภาพลักษณ์ดูเป็นนักกีฬา มีความกล้าเป็นขาลุย ซึ่งเป็นภาพ-ลักษณ์ที่ผู้บริโภควัยนี้ต้องการ
จะเห็นได้ว่าเหล่านี้เป็นกลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างจากกระทิงแดง ซึ่งวางเป้าหมายที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก และอยู่ในตลาดแมส และในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระทิงแดงได้เริ่มนำกลยุทธ์การตลาดที่เคยใช้ในตลาดต่างประเทศเข้ามาในไทยบ้างแล้ว เช่น งาน "ราชดำเนิน เรดบูลแบงค็อก 2010" และการจัดการแข่งขัน "เรดบูล สิงห์ เรซ ออฟแชมเปี้ยนส์ 2012" ซึ่งต่างเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง
ผู้ที่อยู่เบื้องหลังกลยุทธ์ของ Red Bull ในต่างประเทศนี้คือ ดีทริช เมเทสซิทซ์ โดยดีทริช ได้กล่าวปราศัยในงานเปิดตัว Red Bull ไว้ว่า การสร้างนวัตกรรม เป็นสิ่งที่ต้องสำคัญเป็นลำดับ แรก โดยต้องสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภค จนกลายเป็นแบรนด์กลายเป็นไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค
ด้วยกลยุทธ์ของดีทริช ทำให้ Red Bull กลายเป็นเครื่องดื่มชูกำล