การตัดสินใจ Decision Making
หมายถึง การเลือกแนวทางปฏิบัติที่เห็นว่าดีที่สุดจากหลายๆทางเลือก เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
ความสำคัญของการตัดสินใจ
ในงานบริหาร การตัดสินใจเข้ามาเกี่ยวข้องกับทุกหน้าที่ หรือทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหาร การตัดสินใจนับว่ามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ ทั้งเรื่องส่วนตัว การใช้ชีวิตประจำวันืและการบริหารงานในหน้าที่ การตัดสินใจเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งของผู้บริหาร เนื่องจากการตัดสินใจ จะมีผลสะท้อนไปสู่การปฏิบัติงานของทุกคนในองค์กร ถ้าผู้บริหารตัดสินใจได้ถูกต้องเหมาะสม กิจการในองค์การก็จะเจริญก้าวหน้าไปด้วยดี แต่ถ้าผู้บริหารตัดสินใจผิดพลาด จะเกิดผลเสียต่อองค์กร และอาจมีผลต่อความคงอยู่หรือสลายไปขององค์การด้วย
ประเภทของการตัดสินใจ
การตัดสินใจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การตัดสินใจที่เกิดขึ้นภายใต้นโยบายที่วางไว้ และการตัดสินใจที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
การตัดสินใจเชิงปรับตัว Adaptive Decisions
มักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของระบบโรงเรียน ซึ่งการตัดสินใจจำเป็นต้องกระทำ แต่ไม่มีนโยบายวางไว้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างชัดเจนแน่นอน ผู้บริหารจะมีทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไม่มีการตัดสินใจหรือแสวงหาการปรับตัวในนโยบายเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ถ้าผู้บริหารไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะนโยบายที่วางไว้นั้นไม่เหมาะสมกับสถานการณ์แล้ว ผู้บริหารก็จะเผชิญกับความยุ่งยากลำบากใจ ถ้าสถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤต ผู้บริหารควรจะกระทำการตัดสินใจโดยทันทีทันใด แต่ก็ควรแสวงหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับนโยบายที่มีอยู่ในทันที แต่ถ้าสถานการณ์ไม่อยู่ในขั้นวิกฤต ผู้บริหารควรจะแสวงหาทางแก้ไข ให้เหมาะสมกับนโยบายที่มีอยู่ก่อน ที่จะกระทำการตัดสินใจลง
การตัดสินใจเชิงนวัตกรรม Innovative Decisions
เกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบายใหม่ๆ เป้าหมายและโครงการหรือการกระทำ เปลี่ยนแปลงนโยบาย เป้าหมาย และโครงการอย่างยิ่งใหญ่ การตัดสินใจเช่นนั้นไม่สามารถจะกระทำได้อย่างรวดเร็ว เฉลียวฉลาด หรือด้วยการนั่งเทียนหรือหยั่งรู้
ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
ในโรงเรียนประถมศึกา โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก การตัดสินใจจะเป็นของผู้บริหาร ซึ่งใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นข้อมูลหลักในการตัดสินใจ แต่เมื่อองค์การหรือหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงมีความซับซ้อนมากขึ้น จะต้องมีการวิเคราะห์ระบบจัดลำดับขั้นในการตัดสินใจ
พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหาร
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากผู้บริหารว่าจะตัดสินใจเอง โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิม หรือจะตัดสินใจเอง โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิม หรือจะตัดสินใจโดยขอความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา หรือขอความเห็นและให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชาด้วย ซึ่งจะต้องปฏิบัติให้เหมาะสม เพื่อให้การบริหารงานในองค์การหรือหน่อยงานประสบผลสำเร๊จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
ภารกิจเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหาร
ในการตัดสินใจสั่งการของผู้บริหารจะต้องคำนึงถึง หลักการที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน คือ ความเกี่ยวข้องและผลประโยชน์ของบุคลากร ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ ซึ่งจะต้องมีการทดสอบความเกี่ยวข้อง ทอสอบความรู้ ความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้จะต้องมีการกำหนดบทบาท และขอบเขตของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของบุคลากร การจัดกลุ่มตัดสินใจ ผู้บริหารต้องทำตัวเป็นกลางในที่ประชุม การตัดสินใจต่างๆจึงจะเป็นที่ยอมรับของบุคลากร
การร่วมตัดสินใจในสถานศึกษา
การให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ก็เป็นเทคนิควิธีอย่างหนึ่งของผู้บริหารที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสม ด้วยความสุขุมรอบคอบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการตัดสินใจ และการพัฒนางานในโรงเรียน ตลอดจนการสร้างความพึงพอใจ ความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชา
ข้อควรคำนึงในการตัดสินใจ
การตัดสินใจนั้นเป้นเรื่องละเอียดอ่อนที่ส่งผลองค์การหรือหน่วยงานตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ดังนั้นในการตัดสินใจของผู้บริหารจำเป็นจะต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ส่งผลดีต่อองค์การและบุคลาการในองคืการนั้นๆ เพื่อนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการตัดสินใจ