เราไม่ได้เรียนให้คิดเป็น หรือที่เรียกว่า แบบบูรณาการ ความรู้ทุกอย่างมันเชื่อมโยงต่อกัน เป็นเหตุ - ผล เหมือนกับหลายประเทศที่มีความเจริญแล้ว เช่น
วิชา 1 เราจำว่าแถบนี้มีการทำเหมืองเยอะ อาชีพในแถบนั้น
วิชา 2 เราไปเรียนว่า แถบนี้มีภูมิประเทศอย่างไร มาจะไหน เกิดจากการดันตัวอะไรยังไง
วิชา 3 เราเรียนว่าดินแบบไหนทำให้เกิดแร่อะไร
เราได้จำ 3 วิชาที่เป็นเรื่องเดียวกัน สถานที่เดียวกัน แต่ถ้าเราเอามาโยงตั้งแต่รากฐานว่ามันมาอย่างไร เป็นผลให้เกิดไรอะไร ทำให้เกิดเหมืองอะไร เราก็จะเข้าใจ เมื่อเข้าใจสถานที่นี้ 1 ที่ ไม่ว่าเราจะศึกษาสถานที่อื่นอย่างไร เราก็จะเข้าใจได้ ออกความคิดเห็นได้เลย รากฐานเดียวกัน ไม่ใช่จำ ที่สุดท้ายต้องลืม
ซึ่งการศึกษาไทยไม่ได้เอื้ออำนวยต่อปัจจัยต่างๆในการพัฒนาระบบการศึกษา ทำให้ครูจึงต้องสั่งการบ้านเด็กเยอะ เพื่อให้ฝึกกระบวนการทำงาน กระบวนการคิด ซึ่งฉันเข้าใจว่า การบ้านต้องมีคุณภาพไม่ใช่ดูแต่ปริมาณ บางทีการบ้านมากเกินไปไม่ช่วยให้นักเรียนมีคะแนนสอบดีขึ้น แต่ทำให้เด็กทุกข์ จะส่งผลร้ายต่อการเรียนรู้มากกว่าผลดี ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่ครูทุกคนเข้าใจ เนื่องด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่อยากพัฒนานักเรียนด้วยการบ้าน จึงสั่งการบ้านเด็กเยอะเกินไป
อันที่จริงกระบวนการเรียนรู้ของเด็กควรเป็นแบบสม่ำเสมอและค่อยเป็นค่อยไป แต่การให้การบ้านของครูในแต่ละวิชานั้นมีแนวโน้มจะเป็นอิสระจากกัน จึงเกิดความล้มเหลวของการร่วมมือกันให้การบ้าน (Homework Coordination Failure) นั่นหมายถึง บางวันเด็กอาจจะมีการบ้านเยอะมาก บางวันก็อาจไม่มีเลย แทนที่จะกระจายอย่างสม่ำเสมอ
ปัญหาเรื่องการบ้านที่มีมากเกินไป สำนักงานการศึกษาควรที่จะเล็งเห็น และดำเนินการแก้ไขนานแล้ว แต่อาจจะมีหลายเหตุผลในการดำเนินการ ปัจจัยหลักคือระบบการศึกษาไทยไม่เอื้ออำนวยต่อการลดการบ้านของเด็ก ระบบการศึกษาของเรายังไม่เข้มแข็งพอที่จะปรับเปลี่ยนจำนวนการบ้าน และอีกปัจจัยคือ การบ้านยังให้ประโยชน์กับเด็กไทยอยู่ ไม่สร้างปัญหาให้กับเด็กมากพอที่จะแก้ไข คสช จึงมีการสั่งให้ลดเวลาเรียนแต่ไม่ได้ให้ลดเวลาการบ้านลง