ยูโกสลาเวียเดิมประกอบด้วย 6 สาธารณะรัฐ คือ สาธารณะรัฐสโลเวเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนีย-เฮอร์โกวินา มอนเตเนโกร และมาร์เซโดเนีย และจังหวัดโคโซโว และวอยโวตินาซึ่งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2535 สาธารระรัฐสโลเวเนีย และโครเอเชีย 2 ในจำนวน 6 สาธารณะรัฐ ที่ประกอบขึ้นเป็นยูโกสลาเวีย ได้ประกาศแยกตัวเป็นรัฐเอกราช ไม่อยู่ภมยใต้การปกครองของยูโกสลาเวีย อีกต่อไป หลังจากการออกเสียงประชามติทั่วประเทศในสาธารณะรัฐ ทั้งสองเมื่อ ธันวาคม 2533และ พ.ศ.2534 ตามลำดับ การประกาศแยกตัวเป็นเอกราชของ 2 สาธารณะรัฐ ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติยูโกสลาเวีย และได้ขยายตัวเป็นสงครามกลางเมืองในเวลาต่อมา เมื่อสาธารณะรัฐมาโซโดเนีย แลบอสเนีย – เฮอร์เซโกวินา ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช เช่นเดียวกัน เมื่อ กันยายน และ ตุลาคม 2535 ตามลำดับ ความแตกแยกของโกสลาเวียในปัจจุบันที่มาเป็นปัจจัยพื้นฐานหลายประการที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ซึ่งสั่งสมมานานมากกว่าพันปี จากการที่สาธารณะรัฐต่าง ๆ ซึ่งมาร่วมกันเป็นสหพันธ์สาธารณะรัฐ มีเชื้อชาติ ศาสนา ความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คามขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ จึงเป็นปัญหาที่คุกรุ่นมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างชาวโครอัท ชาวเชิร์บ และชาวมุสลิม