บทคัดย่อ
การออกแบบพัฒนาโครงสร้างและชิ้นส่วนภายในโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง เพื่อลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่เกิดจากการกระแทรกหรือการชน ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดบาดเจ็บและความสูญเสียชีวิตของผู้ใช้ยานพาหนะ ดังนั้นจึงได้มีการทดลองหาชิ้นส่วนที่มีความสามารถในการลดความเสียหายจากการกระแทรกหรือการชนของโครงสร้างที่เรียกว่า“ตัวดูดซับพลังงาน”มาใช้ในโครงสร้างเพื่อให้ตัวดูดซับพลังงานช่วยดูดซับพลังงานจากการชนหรือการกระแทรกและลดความเสียหายของโครงสร้างหลักเพื่อลดการสูเสียในชีวิตและทรัพสินย์จากอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนหรือการกระแทรก โดยตัวแปรที่มีผลต่อความสามารถในการดูดซับพลังงานของตัวดูดซับพลังงาน ได้แก่ รูปร่าง ชนิดวัสดุ ความหนา ขนาด และพฤติกรรมความเสียหาย เป็นต้น
ในการทดทองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสามารถในการดูดซับพลังงานของท่อผนังบางซึ่งเป็นท่ออลูมิเนียมเติมโฟมพลียูเรเทนภายใต้แรงบิด(Torsion)โดยใช้การจำลองในโปรแกรมอบาคัสและการทดลองชิ้นงานจริงเพื่อเปรียบเทียบกัน โดยรูปร่างหน้าตัดของท่อที่ใช้ทดลอง ได้แก่ รูปร่างหน้าตัตสี่เหลี่ยม รูปร่างหน้าตัดหกเหลี่ยม รูปร่างหน้าตัตแปดเหลี่ยม และรูปร่างหน้าตัดวงกลม ความหนาแน่นของโฟมที่ใช้ทดลองคือ50kg/m¬3,75kg/m3,100kg/m3 จากการวิเคราะห์ภายใต้แรงบิดพบว่า ท่อรูปร่างหน้าตัดวงกลมมีค่าการดูดซับพลังงานสูงที่สุดรองลงมาเป็นท่อรูปร่างหน้าตัตแปดเหลี่ยม รูปร่างหน้าตัดหกเหลี่ยม และท่อรูปร่างหน้าตัตสี่เหลี่ยมมีค่าการดูดซับพลังงานน้อยที่สุด จากการวิเคราะห์ค่าความหนาแน่นโฟมที่ใช้เติมในท่อ 50kg/m-3,75kg/m3,100kg/m3 ความหนาแน่นของโฟมที่ทำให้ท่ออลูมิเนียมมีค่าการดูดซับพลังงานที่สุงที่สุดคือ100kg/m3และพบว่าความหนาแน่นโฟมที่สูงจะทำให้ค่าการดูดซับพลังงานสูงขึ้น