Culture Shock
คือ วัฒนธรรมของต่างประเทศที่แตกต่างไปจากประเทศเรา หรือที่เราคุ้นเคย เป็นสิ่งที่ไม่มีบอกในตำราแต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนที่ไปใช้ชีวิตหรือได้พบเจอ จะแปลกมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัวและ ความเคยชินของแต่ละคน เช่น
ขึ้นรถเมล์ต้องทักคนขับ และคนขับก็จะทักเรา พอลงก็ต้องบอก ขอบคุณ ซึ่งต่างกับประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง ที่แค่ขึ้นรถเมล์ทันโดยปลอดภัยก็นับว่าโชคดีมากๆแล้ว
ใช้ส้อมตักข้าว บางคนกินอิ่มก็ไม่กินน้ำเลย จะกินทีหลัง (ประมาณ ชั่วโมง) คนไทยต้องมีน้ำด้วยตลอด
กินพิซซ่าไม่ใส่ซอสมะเขือเทศ และกินเฟร้นฟราย กับ น้ำส้มสายชู (จะอร่อยมั้ยเนี่ย)
อาการของ Culture Shock ก็มีแบ่งเป็นระยะได้ เริ่มตั้งแต่
ระยะแรก ใหม่ๆ แรก ๆ อะไรก็ดีไปหมด จะรู้สึกชอบทุก ๆ อย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัว ตื่นเต้นกับบ้านใหม่ อะไรมันจะสะดวกสบายขนาดนั้น รู้สึกตัวเองมีอิสระ เสรี และมีความสุขกับกับโลกใบใหม่นี้จริงๆเลยนะ ไปเที่ยวโน้นเที่ยวนี่ไม่เบื่อ ตื่นตาตื่นใจไปเสียหมด ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสองอาทิตย์แรกที่ไปถึง
ระยะที่สอง ความคุ้นเคยจะเข้ามาเยือน เราจะเริ่มคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว บวกกับความเหงา เดียวดาย เริ่มจะไม่ชอบการอยู่คนเดียว คิดถึงบ้าน คิดถึงแม่ คิดถึงอาหารไทย นี้เลยคะอาการเริ่มแรก ของโฮมซิก หรือ อาการคิดถึงบ้านใจจะขาดนั้นเอง จะเริ่มตั้งแต่เกลียดเมืองที่อยู่อาศัยเอง เกลียดประเทศที่มาอยู่อาศัย เกลียดผู้คนรอบ ๆ ตัว เกลียดอพาร์ทเม้นต์ที่อยู่อาศัย เกลียดทุก ๆ อย่างในประเทศนี้ ระยะนี้แหละที่จัดได้ว่าเป็นระยะอันตราย ถ้ารอดจากระยะนี้ได้ก็สบายได้เป็นนักเรียนนอกแน่ แต่ถ้าไม่รอดก็โบกมือ บ้าย บาย จิงโจ้กลับไปกินส้มตำที่บ้านแน่นอน
ระยะที่สาม สุดท้าย และตลอดไป นั่นหมายถึงว่านายแน่มากที่ผ่านระยะที่สองมาได้ เราจะเริ่มปรับยอมรับกับทุก ๆ สิ่งที่อยู่รอบข้างรู้จักเพื่อนใหม่ๆ การเรียนที่เริ่มจะดูจริงจังมากขึ้น บ้างก็ได้งานทำ เริ่มใช้เหตุผลในการใช้ชีวิตมากขึ้น ประมาณว่า Life must go on และจะเริ่มมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น บ้างก็เลยไปถึงระยะที่สี่คือระยะไม่อยากกลับบ้าน เห็นอะไรที่เมืองไทยไม่ดีไปหมด อยากอยู่ออสเตรเลียจนตายก็มี อย่าเลยนะพ่อแม่รออยู่