บทที่ 7 การผลิตเสียงพูด
ผู้เรียนจำนวนมากเมื่อเริ่มเรียนเกี่ยวกับการผลิตเสียงพูดมักจะรู้สึกว่า การจดจำเสียงใด มีลักษณะอย่างไร ใช้อวัยวะส่วนใดในการออกเสียงนั้นเป็นเรื่องยาก แม้ว่าจะเป็นเสียงที่มีในภาษาของตนเองก็ตาม ดังนั้นวิธีการเรียนรู้การผลิตเสีงพูดให้ง่ายขึ้นจึงไม่ควรอาศัยการท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะสังเกตการออกเสียงจริงของตนเองเป็นหลัก ถ้าไม่สามารถอาศัยการสังเกตได้ก็ควรช้การท่องจำเข้ามาเพิ่มเติม อวัยวะที่ใช้ในการผลิตเสียงพูดเป็นอวัยวะชุดเดียวกับที่เราใช้ในการหายใจ และรับประทานอาหาร เสียงที่เราใช้พูดแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 1. เสียงพยัญชนะ(มีทุกภาษา) 2.เสียงสระ(มีทุกภาษา) 3.เสียงวรรณยุกต์(มีบางภาษา) อวัยที่สำคัญในการผลิตเสียงพูดคือ 1.ปอด 2.เส้นเสียง 3.ลิ้นไก่หรือเพดานอ่อน 4. ปากและอวัยวะในช่องปาก
ปอด
เสียงพยัญชนะและสระในภาษาไทยทุกเสียง รวมทั้งในภาษาอื่นๆเกือบทุกภาษา เป็นเสียงที่ใช้กระแสลมออกจากปอด (pulmonic) ส่วนเสียงพยัญชนะอื่นๆที่ไม่ได้ใช้กระแสลมจากปอดเรียกว่า non-pulmonic
เส้นเสียง
เส้นเสียงเป็นกล้ามเนื้อคู่หนึ่งที่อยู่บริเวณกล่องเสียง ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ขนาดของกล่องเสียงมีผลต่อน้ำเสียง กล่องเสียงมีกระดูก 3 ชิ้น 1.Thyroid cartilage 2.Cricoid cartilage 3. Arytenoid cartilage
เพดานอ่อน
อยู่ถัดจากเพดานแข็ง สามารถสัมผัสเพดานอ่อนได้ด้วยปลายลิ้นของเรา ด้วยการม้วนปลานลิ้นเข้าไปด้านหลังจนสัมผัสกับเนื้อนิ่มๆ ที่ลึกเข้าไป ปกติเพดานอ่อนจะทิ้งตัวลงตามแรงโน้มถ่วงโลก ทำให้เกิดช่องว่างให้กระแสลมผ่านเข้าไปในช่องจมูกได้ ทำให้เกิดเสียงนาสิก เราสามารถบังคับเพดานอ่อนให้ยกตัวได้
พยัญชนะ
1.พยัญชนะแบบไม่ก้อง
-ลมผ่านได้สะดวก
-เส้นเสียงไม่สั่น
-เกิดเสียงไม่ก้อง
2.เส้นเสียงปิด
-ลมจากปอดผ่านไม่สะดวก
-เส้นเสียงที่ปิดมาชิดกันจึงเกิดการสั่นของเส้นเสียง
-เกิดเป็นเสียงก้อง
3.เส้นเสียงปิดสนิท
-ไม่มีในภาษาอังกฤษ
-จะเจอในเสียง เออะ
ปากและอวัยวะในช่องปาก
อวัยวะเหล่านี้จะทำงานกันเป็นคู่ เรียกว่า "ฐาน" กับ "กรณ์"
ฐาน คืออวัยวะที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
กรณ์ คืออวัยวะที่สามารถเคลื่อนที่ได้
เรียกรวมกันว่า Place of articulation
ฐานประกอบด้วย
1.ริมฝีปากบน 2.ฟันบน 3.ปุ่มเหงือก 4.เพดานแข็ง 5.เพดานอ่อน 6.ลิ้นไก่ 7.ผนังคอ
กรณ์ประกอบด้วย
1.ริมผีปากล่าง 2.ฟันล่าง
ลิ้นสามารถแบ่งได้ 5 ส่วน คือ tip, blade, front, back, root
Interdaental [th]
-Tongue between the teeth
-In English, the interdental consonats are also all fricatives.
กระบวนการออกเสียง
Plosive ถ้าเรายกเพดานอ่อนขึ้นเพื่อทำให้ลมออกจมูกไม่ได้ และระหว่างที่ฐานกับกรณ์มาติดกันสนิท เวลาสั้นๆเพียงเสี้ยววินาทีที่ฐานกับกรณ์ติดกันสนิทนั้นเองกระแสลมจากปอดที่ส่งผ่านขึ้นมาก็จะได้รับการกักเอาไว้ที่หลังญานกรณ์ และในเสี้ยววินาทีต่อมาที่ฐานกับกรณ์แยกออกจากกันก็จะทำให้กระแสลมที่ถูกกักไว้ ระเบิดออกมา ดังนั้นเสียงที่ได้จึงเป็นเสียงที่เรียกว่าเสียงกัก เสียงหยุด หรือเสียงระเบิด
พยัญชนะที่เกิดจากฐานกรณ์ที่ติดกันสนิทมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1.oral stop (plosive)...... ในหน้า 92
2.nasal (stop).....ในหน้า 92
Trill or roll
เสียงรัว บังคับกระแสลมเปิดๆ ปิดๆ เป็นระยะๆ (ร.เรือ)
Tap or flap
Tap เสียงลิ้นแตะกระทบมีการบังคับกระแสลมปิดแล้วเปิดเพียงครั้งเดียว ปลายลิ้นแตะปุ่มเหงือกอย่างเร็ว
Flap เสียงลิ้นสะบัด มีการบังคับกระแสลมแบบปิดแล้วเปิดเพียงครั้งเดียว คือปลายลิ้นแตะปุ่มเหงือกและก่อนปล่อยออกมานั้นมีการดันปลายลิ้นกวาดถอยไปทางด้านหลังปุ่มเหงือกเล็กน้อย ก่อนจะสะบัดปลายลิ้นออกมาโดยไม่กระทบส่วนใดในปาก เสียงแบบนี้เป็นเสียงที่มีในภาษาไทย คือ ร. เรือ
Fricative
-เสียงเสียดแทรก มีการบังคับกระแสลมแบบเปิดแคบ
-เพราะญานกรณ์เข้ามาใกล้กันมากแต่ไม่ชนกัน ทำให้ลมต้องเบียดออกมา
Affricate
-เสียงกักเสียดแทรก เป็นเสียงที่มีการบังคับกระแสลมแบบเปิดสนิท ผนวกกับการบังคับกระแสลมแบบเปิดแคบ
-ในช่วงฐานกรณ์เหมือนเสียงระเบิด คือ ปิดสนิท แต่ช่วงปล่อยฐาน กรณ์จะปล่อยช้ากว่าเสียงระเบิด ทำให้มีช่องแคบๆตรงนั้น ลมจึงแทรกออกมาได้ คล้ายมีเสียงเสียดแทรกเกิดร่วมด้วย เช่น watch
Lateral
เสียงข้างลิ้น มีการบังคับกระแสลมแบบเปิดเป็นช่องบางส่วน นั้นคือปลายสุดของลิ้นจรดปุ่มเหงือกอย่างสนิทแน่น แต่ด้านข้างของลิ้นลดตัวลง ทำให้ลออกทางข้างลิ้นเท่านั้น
ประเภทของ Lateral
1.เสียงข้างลิ้น (Lateral หรือ lateral aproximant)
เป็นการลดด้านข้างของลิ้นลงกว้างมากพอที่จะทำให้ลมผ่านออกมาได้อย่างสะดวก ในขฯะที่ปลายสุดของลิ้นแตะปุ่มเหงือกสนิท
2.เสียงเสียดแทรกข้างลิ้น (Lateral Fricative)
ขณะที่ปลายสุดของลิ้นจรดปุ่มเหงือกด้านข้างของลิ้นจะลดลงเพียงเล็กน้อย ลมต้องเบียดแทรกออกมาทำให้ได้ยินเสียงเสียดแทรกข้างลิ้น
Approximant
-เสียงเปิด เป็นเสียงที่ฐานกรณ์อยู่ห่างกันมากพอที่จะทำให้กระแสลมจากปอดผ่านออกมาได้อย่างสะดวก และไม่มีเสียงเสียดแทรก
-บางครั้งในการบรรยายเสียงพยัญชนะบางเสียงเรียกว่า เสียงกึ่งสระ (semi vowel)
Double Articulation
[w] เป็นสัทอักษณพิเศษ ที่ต้องใช้ 2 ญานกรณ์ในการออกเสียง ได้แก่ velar and bilabial ชื่อคือ voiced bilabial approximant
การเรียกชื่อพยัญชนะสัทอักษร
1.ดูว่าสัทอักษรอยู่ด้านซ้ายหรือขวาในตาราง IPA
2.ดูด้านบนตาราง
3.ดูด้านข้างตาราง
Example : v. = voiced labiodental fricative
N. = voiced uvular nasal
เสียงสระ
เป็นเสียงที่เกิดจากกระแสลมจากปอด เคลื่อนผ่านไปยังช่องเส้นเสียง กรแสลมจะถูกแปรโดยการำงานองเส้นเสียง โดยทั่วไปแล้วเสียงสระจะเป็นเสียงก้อง (voiced)
ลิ้นที่ใช้ในการออกเสียง แบ่งได้ 3 ส่วน คือ
1.front of the tongue (ตรงข้ามเพดานแข็ง)
2.central of the tongue (อยู่ตรงข้ามกับส่วนต่อระหว่างเพดานแข็งกับเพดานอ่อน)
3.back of the tongue (อยู่ตรงข้ามกับเพดานอ่อน)
สระหน้า : i, e, ....ในสมุด
สระหลัง : ...........ในสมุด
ปากเหยียดกับปากห่อ
rounded : i a
unrouned : u ในสมุด
การตั้งชื่อสระสัทอักษร
1.ลิ้นยกสูงแค่ไหน (close, close-mid, open-mid, open)
2.ใช้ลิ้นส่วนไหน (front, central, back)
3.ดูรูปปาก (rounded, unrouned)