4. การเขียนจดหมายสอบถาม
จดหมายสอบถาม เป็นจดหมายที่ติดต่อระหว่างลูกค้ากับบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ที่ต้องการจะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น ชนิด คุณภาพ ราคา ส่วนลด วิธีการใช้ ฯลฯ โดยอาจจะให้บริษัทนั้นส่งรายละเอียดหรือแคตตาล็อกมา เมื่อบริษัทได้รับจดหมายสอบถามแล้วก็จะตอบจดหมายทันที ที่เรียกว่า จดหมายตอบสอบถาม เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทให้ความสำคัญกับลูกค้าของตนและผู้สอบถามก็เป็นบุคคลหนึ่งที่สนใจสินค้านั้น ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะจำ หน่ายสินค้าได้มากกว่าการโฆษณาชนิดอื่น แต่บางกรณีการสอบถามอาจจะไม่ได้สอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้าหรือบริการก็ได้ แต่เป็นการขอความร่วมมือในการตอบสอบถามเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการซื้อขายก็ได้ เช่น สอบถามข้อมูลเพื่อการวิจัยหรือสอบถามการปฏิบัติงานหรือความประพฤติของผู้สมัครงานที่อ้างผู้รับรองให้สอบถาม หรือเรื่องเครดิตของลูกค้าที่มาขอเปิดบัญชีเงินเชื่อ เป็นต้น
5. การเขียนจดหมายสั่งซื้อ
จดหมายสั่งซื้อสินค้าเป็นจดหมายที่ลูกค้าเขียนสั่งซื้อสินค้าที่ตนต้องการเมื่อเกิดความพอใจในสินค้านั้น ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นแบบฟอร์มการสั่งซื้อที่บริษัทห้างร้านส่งมาให้ลูกค้าพร้อมกับจดหมายตอบสอบถาม ส่วนจดหมายตอบรับการสั่งซื้อก็เป็นจดหมายตอบขอบคุณหรือแจ้งว่าได้ส่งสินค้านั้นมาแล้วให้ทราบ
6. การเขียนจดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจ
จดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจเป็นจดหมายที่ลูกค้าเขียนไปยังผู้ขายสินค้าเพื่อต่อว่าในเรื่องสินค้าที่ส่งไปชำรุด ผิดขนาด ไม่ครบจำนวน หรือส่งล่าช้า ฯลฯ และเมื่อผู้ขายได้รับจดหมายต่อว่าก็จะต้องรีบเขียนจดหมายปรับความเข้าใจโดยชี้แจงเหตุผลหรือสาเหตุของความผิดพลาด โดยแสดงความเสียใจและยอมรับข้อผิดพลาดและยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขด้วยดี
7. การเขียนจดหมายทวงหนี้และเตือนหนี้
จดหมายทวงหนี้และเตือนหนี้เป็นจดหมายที่ผู้ขายเขียนไปถึงลูกค้าเพื่อแจ้งหนี้ให้ทราบหากลูกค้าเพิกเฉยก็อาจจะต้องส่งจดหมายเตือนหนี้ไปอีกครั้งการเขียนจดหมายทวงหนี้จึงต้องระมัดระวังคำ พูดไม่ให้เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามลูกค้าแต่ให้ความหวังว่าลูกค้าจะชำ ระเงินค่าสินค้าเพื่อการเป็นลูกค้าที่ดีกันต่อไป ถ้าส่งจดหมายเตือนหนี้ไปแล้ว 2-3 ฉบับ แต่ยังไม่ได้รับคำ ตอบอาจจะยื่นกำหนดเวลาชำ ระเงินให้เป็นคำ ขาด และอาจจะต้องอ้างถึงการดำ เนินการตามกฎหมายก็ได้ แต่จะด้วยวิธีการใดก็ตามต้องใช้ลักษณะการเขียนที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อกาลเทศะจึงจะทำ ให้ประสบความสำเร็จคือเรียกเก็บหนี้สินที่ค้างไว้ได้
8. การเขียนจดหมายไมตรีจิต
จดหมายไมตรีจิตเป็นจดหมายที่ไม่ได้เกี่ยวกับการซื้อขายโดยตรง แต่เขียนขึ้นเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือหน่วยงานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ทางการค้าต่อไปในอนาคต การเขียนจดหมายไมตรีจิตได้แก่ จดหมายแสดงความยินดี จดหมายแสดงความเสียใจ จดหมายขอความร่วมมือหรือความช่วยเหลือ จดหมายขอบคุณ และจดหมายเชิญ