องค์ประกอบของวรรณคดี
องค์ประกอบของวรรณคดีแบ่งออกเป็น5 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ แก่นเรื่อง หรือแก่นความคิด (Theme) โครงเรื่อง (Plot) ตัวละคร (Character) ฉากและบรรยากาศ (Setting) มุมมองในการเล่าเรื่อง (Point of view) ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด ดังนี้
แก่นเรื่อง หรือแก่นความคิด (Theme)
คือ ความคิดหลักในการดำเนินเรื่องซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเล่าเรื่องเพื่อให้มีความเข้าใจถึงแก่นความคิดหลักของผู้เล่า อาจเป็นแก่นเรื่องที่เกี่ยวกับความรัก ศีลธรรม เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เรื่องอำนาจ เป็นต้น ซึ่งแก่นเรื่องจะมีความแตกต่างกันไปตามโครงสร้างที่ต้องการนำเสนอ
แก่นเรื่องโดยทั่วไปมี 4 ประเภทคือ
1. แก่นเรื่องแสดงทัศนะส่วนมากแก่นเรื่องแบบนี้จะเสนอหรือแสดงทัศนะของผู้เล่าต่อประเด็นทางสังคม การเมือง ศาสนา หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นแก่นเรื่องเพื่อชีวิต
2. แก่นเรื่องแสดงอารมณ์เป็นแก่นเรื่องที่ผู้เล่ามุ่งเน้นแสดงอารมณ์ต่างๆที่สะเทือนใจไม่ว่าจะเป็น สุข เศร้า เหงา ทุกข์ โศก พยาบาท ร่าเริง หวาดกลัว ว้าเหว่ ฯลฯ
3. แก่นเรื่องแสดงพฤติกรรมมุ่งที่แสดงพฤติกรรมในบางแง่มุมหรือทุกแง่มุมของตัวละครเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของตัวละครอันเป็นผลมาจากทัศนะคติต่อค่านิยมบางอย่างในสังคมและพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากอารมณ์ของตัวละครเอง
4. แก่นเรื่องแสดงภาพและเหตุการณ์เป็นแก่นเรื่องที่ผู้เล่ามุ่งที่จะแสดงสภาพบางอย่างหรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ในบางช่วงตอนของชีวิตตัวละคร
โครงเรื่อง (Plot)
คือ ลำดับ หรือทิศทางของการดำเนินเรื่อง ที่มีการกำหนดเอาไว้เป็นกรอบของเหตุการณ์ทั้งหมดทั้งหมดในเรื่องที่ดำเนินตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นลำดับเหตุการณ์พฤติกรรมของตัวละคร หรือเป็นการดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง โครงเรื่องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพยนตร์ โดยปกติจะมีการลำดับเหตุการณ์ในการเล่าเรื่องไว้ 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. การเริ่มเรื่อง (Exposition)คือ การเล่าเรื่องเป็นการชักจูงความสนใจให้ติดตามเรื่องราว มีการแระนำตัวละคร ฉากหรือสถานที่ อาจมีการเปิดประเด็นปัญหา หรือเผยปมขัดแย้งเพื่อให้เนื้อเรื่องชวนติดตาม การเริ่มเรื่องไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับเหตุการณ์ อาจเริ่มเรื่องจากตอนกลางเรื่อง หรือย้อนจากตอนท้ายเรื่องไปหาต้นเรื่องก็ได้
2. การพัฒนาเหตุการณ์ (Rising Action) คือการที่เล่าเรื่องราวดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและสมเหตุสมผล ปมปัญหาหรือขัดแย้งเริ่มทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตัวละครอาจมีความลำบากใจ หรือเกิดสถานการณ์ที่มีความยุ่งยากขึ้นในเรื่อง
3. ภาวะวิกฤติ (Climax) คือ เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดของเรื่อง จะเกิดขึ้นเมื่อเรื่องราวกำลังถึงจุดแตกหัก และตัวละครอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ
4. ภาวะคลี่คลาย (FallingAction) คือ สภาพหลังจากที่จุดวิกฤติได้ผ่านพ้นไปแล้วเงื่อนงำและประเด็นปัญหาได้รับการเปิดเผยหรือข้อขัดแย้งได้รับการขจัดออกไป
5. การยุติเรื่องราว (Ending) คือ การสิ้นสุดของเรื่องราวทั้งหมด การจบอาจหมายถึงความสูญเสีย อาจจบแบบมีความสุข หรือทิ้งท้ายไว้ให้ขบคิดก็ได้
ตัวละคร (Character)
คือ ผู้ทำหน้าที่เดินเนื้อหาพาเรื่องราวไปสู่จุดจบของเรื่อง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งที่เป็นมนุษย์และที่ไม่ใช่มนุษย์ อาจเป็นสัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับผู้นำเสนอเรื่องต้องการจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้ยังหมายถึงบุคลิกลักษณะของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา หรืออุปนิสัยใจคอของตัวละครด้วย โดยตัวละครแต่ละตัวจะต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วนเสมอ นั่นคือ ส่วนที่เป็นความคิด (Conception) และส่วนที่เป็นพฤติกรรม (Presentation) ตัวละครในภาพยนตร์จะเป็นออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ตัวละครเอก ตัวละครร้าย และตัวละครประกอบ มีรายละเอียดดังนี้
ตัวละครเอก (Protagonist) จะเป็นศูนย์กลางของโครงเรื่องของภาพยนตร์ทั้งหมด เพราะเป็นตัวละครที่ร้อยเรื่องราวต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อแสดงให้เห็นแก่นของเรื่อง
ตัวละครร้าย (Antagonist) จะเป็นตัวละคร หรือเป็นสิ่งที่ขู่เข็ญตัวละครเอก และทำให้เกิดความขัดแย้งกับตัวละครเอก ตัวละครร้ายอาจจะเป็นทั้งตัวละครที่เป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ได้
ตัวละครประกอบ (Subordinate or Minor character ) จะเป็นตัวละครที่มีบทบาทรองลงไปจากตัวละครเอก เป็นตัวละครที่ทำให้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวละครเอกเคลื่อนไหวไปสู่จุดหมายปลายทาง ตัวละครประกอบบางตัวอาจมีบทบาทเด่นพอ ๆ กับตัวละครเอกก็ได้ แต่มักจะเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับตัวละครเอก
ลักษณะนิสัยของตัวละคร
สังเกตได้จากการกระทำของตัวละครที่โต้ตอบกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจากการพูดคุยกับตัวละครอื่นๆในเรื่อง หรือจากความคิดของตัวละครที่พูดกับตนเอง โดยแย่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ตัวละครแบบมีมิติ (Round Character) เป็นตัวละครที่มีหลากหลายคุณสมบัติและอารมณ์มีจุดเด่นจุดด้อย มีความซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลง
2. ของพฤติกรรม หรือความคิดหลังจากที่ได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆในเรื่อง เป็นลักษณะของตัวละครที่ค่อนข้างมีความสมจริง
3. ตัวละครแบบแบน (Flat Character) เป็นตัวละครที่บุคลิกไม่ซับซ้อน อาจมีเพียงมิติเดียว มักใช้เป็นลักษณะของตัวละครประกอบที่ไม่สำคัญ
บทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละคร
การกำหนดบทบาทของตัวละครมีอยู่ 2 วิธี คือ
1. ตัวละครที่มีบทบาทคงที่(Static Character)คือตัวละครที่มีบุคลิกคงที่ตลอดเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ตอนเปิดเรื่องมีลักษณะนิสัยอย่างไร ตอนจบเรื่องก็ยังคงมีลักษณะนิสัยอย่างนั้น
2. ตัวละครที่มีบทบาทไม่คงที่ (Dynamic Character) คือตัวละครที่ปรับเปลี่ยนนิสัย บุคลิกลักษณะ และทัศนคติไปตามประสบการณ์หรือสภาพจิตใจได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควร หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้บุคลิกภาพของตัวละครเปลี่ยนแปรไป