3.2 เฮอร์เบิร์ต ไซมอน (Herbert A. Simon, 1976) : ได้เสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในหนังสือชื่อว่า “Administrative Behavior: A Study of Decision–Making Process in Administrative Organization” สรุปได้ดังนี้
1. การสร้างเครื่องมือเพื่อมององค์การ โดยผ่านหนังสือ “Administrative Behavior: A Study of Decision-Making Process in Administrative Organization” เช่น เสนอคำศัพท์หรือแนวความคิดต่าง ๆ
2. ข้อบกพร่องของ “หลักการบริหาร” ทฤษฎีหลักการบริหารมีข้อผิดพลาดตรงที่ประกอบได้ด้วยหลักการบางหลักการที่ขัดแย้งกันเอง เช่น
2.1 ความขัดแย้งระหว่างหลักการของข่ายการควบคุม (Span of Control) และหลักลำดับชั้น (Hierarchy)
2.2 ความขัดแย้งระหว่างหลักผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง (Specialization) และหลักเอกภาพการควบคุม (Unity of Command)ความขัดแย้งระหว่างการจัดองค์การตามวัตถุประสงค์ กระบวนการลูกค้า และสถานที่ การเลือกวิธีจัดองค์การแบบหนึ่งอาจทำให้ไม่สามารถเลือกแบบอื่นได้
3. การตัดสินใจเป็นหัวใจของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ Simon เสนอว่า ผู้ตัดสินใจจะต้องมี
3.1 สามารถจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายต่าง ๆ ที่ต้องการบรรลุ
3.2 รู้แนวทางปฏิบัติ (Alternative Strategies) ทุกแนวทางอย่างถ่องแท้
3.3 มีความรู้ (Knowledge) และมีความสามารถในทางจิตวิทยา แต่ในทางปฏิบัติ Simon มีความเห็นว่าการตัดสินใจมิได้ดำเนินการไปอย่างมีเหตุผลสมบูรณ์แบบ เพราะ
1) ผู้ตัดสินใจขาดความรู้ที่สมบูรณ์
2) มนุษย์ทั่วไปไม่มีความสามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่า การตัดสินใจแต่ละครั้งจะนำมาซึ่งความพอใจแค่ไหนในอนาคต
3) ผู้ตัดสินใจไม่สามารถหยั่งรู้ถึงแนวทางปฏิบัติไปได้ทุกแนวทาง
4. การตัดสินใจเรื่องเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจแยกได้ 2 แบบคือ
4.1 การตัดสินใจเพื่อเลือกเป้าหมายสุดยอด (Final goals) ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจเรื่องค่านิยม
4.2 การตัดสินใจเพื่อนำเอาเป้าหมายสุดยอดไปปฏิบัติให้เกิดผลเรียกว่าเป็นการตัดสินใจเรื่องข้อเท็จจริง
5. ดุลยภาพ (Equillibrium) ภายในองค์การ ได้แก่
5.1 เป้าหมายองค์การเป็นเหตุจูงใจประเภทแรก
5.2 สิ่งจูงใจให้คนงานทำงาน
5.3 การเจริญเติบโตขององค์การ