แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 จำนวนนับไม่เกิน 1,000 (แนวประยุกต์ของโรงเรียนในโครงการทรูปลูกปัญญา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง การอ่านและเขียนตัวเลขตัวหนังสือแทนจำนวน เวลา 2 ชั่วโมง
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
ตัวเลขคือสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนจำนวนสิ่งที่นับได้การอ่านตัวเลขใช้การเขียนคำอ่านเป็นตัวหนังสือ
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
มฐ ค 1.1 ป.2/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงปริมาณของสิ่งของหรือจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งพัน และศูนย์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยและตัวหนังสือแทนจำนวนได้ (ความรู้)
2. เรียนคณิตศาสตร์ด้วยความสนใจสนุกสนานและรับผิดชอบงาน (คุณลักษณะอันพึงประสงค์)
3. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง (ทักษะและกระบวนการ)
สาระการเรียนรู้
1. การบอกจำนวน
2. การอ่านและเขียนตัวเลขตัวหนังสือแทนจำนวน
กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนในสื่อทรู8กลุ่มสาระ จำนวน 10 ข้อ ครูตรวจเก็บคะแนน
2. แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 3-4 นับสิ่งของต่าง ๆในห้องเรียนกลุ่มละ 1 อย่างแล้วออกมาเขียนสิงที่นับได้บนกระดานอัจฉริยะ
3. ร่วมกันเล่นเกมพอเพียงเพื่อฝึกสมาธินักเรียนก่อนเรียน
4. สนทนาทบทวนเรื่องจำนวนไม่เกิน 100 โดยใช้บัตรภาพแสดงจำนวน หรือนับสิ่งของขนาดเล็ก เช่น ไม้ไอศกรีม ไม้จิ้มฟัน เหรียญบาท เมล็ดมะขาม เป็นต้น
5. ให้นักเรียนเล่นเกมแข่งขันเขียนจำนวนไม่เกิน 100 โดยแบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเขียนจำนวนบนกระดานทีละคนโดยครูเขียนบนกระดาษอัจฉริยะแสดงจำนวนให้ นักเรียนดูกลุ่มใดเขียนถูกต้องมากกว่า เป็นฝ่ายชนะ
6. ครูให้นักเรียนดูการเขียนตัวอารบิค ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแทนจำนวน ในสื่อทรู8 กลุ่มสาระ
ชั่วโมงที่ 2
1. ครูให้นักเรียนศึกษาแผ่นตารางร้อยและตารางสิบอย่างละ 1 แผ่นในสื่อทรู8 กลุ่มสาระครูแนะนำเพิ่มเติมว่าหมายถึงจำนวนหนึ่งร้อยสิบแล้วเขียนให้นักเรียนดูบนกระดานดำจากนั้นให้นักเรียนสะกดคำว่าหนึ่งร้อยสิบเป็นตัวหนังสือโดยครูเป็นผู้เขียน
1 ร้อยกับ 1 สิบ ตัวเลขอารบิก 110
ตัวเลขไทย ๑๑๐
ตัวหนังสือหนึ่งร้อยสิบ
2 ร้อยกับ 2 สิบ ตัวเลขอารบิก 220
ตัวเลขไทย ๒๒๐
ตัวหนังสือสองร้อยยี่สิบ
2. ให้นักเรียนฝึกดูแผ่นตารางร้อยและตารางสิบจำนวนอื่น ๆเช่น 150, 220, 340 เป็นต้นพร้อมกับให้
นักเรียนอ่านเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยและตัวหนังสือจนคล่องแคล่วยกตัวอย่างทำนองนี้ 2-3 ตัวอย่างโดยการเพิ่มแผ่นตารางหน่วยแล้วให้อ่านจำนวนอื่นๆจนคล่องโดยย้ำนักเรียนให้จำว่า 1 สิบอ่านว่าสิบ2 สิบอ่านว่ายี่สิบเป็นต้น
3. ครูแนะนำเพิ่มเติมว่าจำนวนที่เกิน 100 แต่หลักสิบเป็นศูนย์เช่น 101 แสดงเป็นภาพได้โดยครูนำ แผ่นตารางร้อย 1 แผ่นกับแผ่นตารางหน่วย 1 แผ่นติดบนกระดานย้ำให้นักเรียนจำว่าเลข 1 เมื่อเป็นหลักหน่วยให้อ่านว่าเอ็ดแล้วให้นักเรียนลองอ่านจำนวนอื่น ๆเช่น 201 สองร้อยเอ็ด 301 สามร้อยเอ็ดจากนั้นครูแสดงจำนวนอื่นๆ
4. ครูใช้หลักลูกคิดแสดงจำนวนหลักร้อยหลักสิบและหลักหน่วยในสื่อทรู8 กลุ่มสาระให้นักเรียนบอกจำนวนด้วยปากเปล่าเช่นสามร้อยสี่สิบเอ็ด ห้าร้อยสามสิบสาม
5. ให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะในสื่อทรู8 กลุ่มสาระ จำนวน 10 ข้อ
การวัดผลและประเมินผล
1. วิธีการวัดผล
1.1 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
1.2 ตรวจแบบฝึกเสริมทักษะ
2. เครื่องมือวัดผล
2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
2.2 แบบฝึกเสริมทักษะ