การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างงานปูนปั้นของไทยยุคปัจจุบันกับงานปูนปั้น งานจาหลักไม้ และงานจิตรกรรมในยุคก่อนหน้า ค่อนข้างมีข้อจำกัดเรื่องตัวอย่างผลงาน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นตัวอย่างที่สร้างขึ้นภายหลังสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ลงมา โดยเฉพาะหลักฐานงานระหว่าง พ.ศ.2460-2510 แต่หลักฐานผลงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงกระแสนิยมในสังคมช่าง ซึ่งเป็นบรรทัดฐานสำคัญสาหรับการพัฒนา และทำความเข้าใจผลงานปูนปั้นได้มากยิ่งขึ้น
ผลการวิเคราะห์พบว่าแนวความคิดแบบสัจนิยมเป็นกระแสความคิดสาคัญที่มีพัฒนาการอยู่งาน ทั้งส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านเนื้อหา และรูปแบบในงานปูนปั้น ซึ่งเริ่มกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้งราว พ.ศ. 2560 ด้านเนื้อหาพบว่าแนวความคิดสัจนิยมเป็นหนึ่งในพื้นฐานของพัฒนาการด้านเนื้อหาร่วมสมัย อันอาจนับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงานปูนปั้น โดยพบพัฒนาการเกิดขึ้นในงานของช่างและแพร่หลายกลายเป็นแบบอย่างนิยมเฉพาะภายในกลุ่มเครือข่าย ส่วนด้านรูปแบบพบว่าการปั้นองค์ประกอบลวดลายให้มีองค์ประกอบบางส่วนนูนสูง หรือลอยตัวจากระนาบพื้นผนังอาคารเป็นแบบอย่างที่ปรากฏขึ้นในงานปูนปั้น และงานสลักไม้ประดับหน้าบันอาคาร ระหว่าง พ.ศ. 2460-2510 ซึ่งมีรูปแบบสัมพันธ์กับแนวทางการสร้างงานแนวสัจนิยม ก่อนจะกลายเป็นแบบแผนนิยมสืบมาในงานปูนปั้น