การเคลื่อนที่ของแสง แหล่งกำเนิดแสง และเซลล์สุริยะ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ช่วยให้นักเรียนมองเห็นในเวลากลางวัน นักเรียนใช้แสงจาก ไฟฟ้าช่วยให้มองเห็นในเวลากลางคืน นอกจากนี้นักเรียนยังใช้แสงทำประโยชน์ต่างๆ การเรียนรู้เกี่ยวกับแสงจะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ และสามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้มากมาย
การเคลื่อนที่และการเดินทางของแสง
ถ้าเราสังเกตรอบตัวเราในแต่ละวัน จะเห็นการเดินทางของแสง แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆแสงที่ส่องผ่านหน้าต่าง ลำแสงเล็ก ๆ เรียกว่า รังสีของแสงแสดงว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทุกทาง แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดทุกทิศทาง และเคลื่อนที่เป็นส่วนตรง แสงไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น แสงอาทิตย์ที่เดินทางมายังโลกมีความเร็วประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 186,000 ไมล์ ต่อวินาที แต่แสงใช้เวลาเดินทางจากดวงอาทิตย์มายังโลกเพียงประมาณ 8.5 นาทีเท่านั้นแหล่งกำเนิดแสงแหล่งกำเนิดแสงแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ1. แหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ ได้แก่ แสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากดวงดาว แสงจากหิ่งห้อย ฯลฯ แหล่งกำเนิดของแสงที่สำคัญที่สุดที่เรารู้จัก คือ ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร แสงเดินทางประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1,080 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง สรุปว่า แสงสามารถเดินทางมาถึงโลกโดยใช้เวลาเพียง 8 นาที แหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ 2. แหล่งกำเนิดแสงประดิษฐ์ เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ได้แก่ แสงจากหลอดไฟฟ้า จากเทียนไข จากตะเกียง จากไต้ จากกองไฟ ฯลฯแหล่งกำเนิดแสงประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น
เซลล์สุริยะ
เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell) อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีหน้าที่แปลงจากแสงแดด ให้เป็นกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วเซลล์สุริยะที่มีทั้งแหล่งแสงจากดวงอาทิตย์และจากแหล่งอื่น ล้วนเรียกรวมกันว่า เซลล์โฟโตวอลเทอิก (photovoltaic cell)
เซลล์สุริยะ ที่มา : http://th.wikipedia.orgส่วนประกอบของเซลล์สุริยะ
พลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกจำนวนมหาศาลนั้น ส่วนใหญ่พืชจะนำมาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือการปรุงอาหาร สำหรับมนุษย์และสัตว์ นอกจากจะได้รับประโยชน์จากความอบอุ่นของแสงอาทิตย์ และการมองเห็นแล้ว ยังถือว่านำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้น้อยมาก ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์จัดเก็บ พลังงานแสงอาทิตย์ก็จะสูญหายไปเมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน
การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าเซลล์สุริยะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เซลล์สุริยะเป็นแผ่นกระจก ด้านหน้าฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส ทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าลบ ด้านหลังฉาบด้วย สารซิลิคอน และโบรอน ทำหน้าที่เป็น ขั้วไฟฟ้าบวก ปริมาณกระแสไฟฟ้า จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของเซลล์ ปริมาณแสงอาทิตย์ และระยะเวลาที่ได้รับแสงว่านานเพียงใด
เซลล์สุริยะ ที่มา : http://school.obec.go.th/science_wp/I_light/solar1.htm ปัจจุบันได้มีการนำเซลล์สุริยะไปติดตั้งในอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้
ต่าง ๆ เช่น นาฬิกา เครื่องคิดเลข ยานอวกาศ ดาวเทียม เป็นต้น
ผู้ที่ค้นพบหลักการประดิษฐ์เซลล์สุริยะ คือ นักฟิสิกส์ชาว
เยอรมัน ชื่อ ไฮน์ริค แฮรตซ์ ค้นพบในปี ค.ศ. 1887 โดย
ระบุว่า สารบางชนิดสามารถให้กระแสไฟฟ้าได้เมื่อได้รับแสง
โดยเรียกว่าเป็น ปรากฎการณ์โฟโต้วอลเทอิค (photovoltaic
effect)