ดังนั้น ระบบระเบียบในภูมิภาคจึงมีเพิ่มขึ้นจากการพึ่งพากัน (interdependence) ที่ขยายตัวมากขึ้น
ผ่านการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงระหว่างกันทางเศรษฐกิจ
นักวิชาการแนวสถาบันนิยมแบบเสรีได้ท้าทายว่า นักสัจจนิยมได้มองข้ามผลงานในการสร้างสันติภาพและ
ความมั่นคงระดับภูมิภาคของอาเซียน อาเซียนมีความเชื่อมั่นและมีระดับความโปร่งใสที่สูงขึ้น อีกทั้งยังได้ลดความไม่
แน่นอนและความเป็นปรปกัษ์ต่อกนัในความสัมพันธ์ภายในภูมภิาคอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการถ่วงดุล หรือ
บทบาทของสหรัฐ แต่เป็นกระบวนการสร้างสถาบันในหมู่ชาติอาเซียนเองต่างหากที่ก่อให้เกิดความร่วมมือด้านความ
มั่นคงและเศรษฐกิจในภูมิภาคขึ้นมา ต่อเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ ดอน เอ็มเมอร์สัน (Don Emmerson) แห่งมหาวิทยาลัย
สแตนฟอร์ด ได้จัดให้อาเซียนเป็น “ระบอบความมั่นคง” (security regime) ซึ่งรัฐอาเซียนจะไม่ใช้ก าลังต่อรัฐอาเซียน
ด้วยกัน ในขณะที่ ศาสตราจารย์ นารายานัน กาเนซัน (Narayanan Ganesan) แห่งมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา วิเคราะห์ว่า