อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell - 3 มีนาคม ค.ศ. 1847 - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1922) เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เบลล์ เทเลโฟน (Bell Telephone company) สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างมากของเบลล์และเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างมาก ได้แก่ โทรศัพท์ ซึ่งได้คิดค้นอย่างอิสระได้พร้อมๆ กับ เอลิชา เกรย์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน นอกจากนี้ เบลล์ยังเป็นผู้มีความสำคัญอย่างมากในงานวิจัยทางด้านอากาศยาน และ ไฮโดรฟอยล์
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ เกิดที่เมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ (ภายหลังเบลล์ได้เปลี่ยนชื่อกลางเกรแฮมออกและเปลี่ยนชื่อสกุลเป็น อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เพื่อเป็นเกียรติกับเบลล์)
ครอบครัวของเบลล์ มีความเกี่ยวพันกับทางด้านภาษาศาสตร์ว่าด้วยการออกเสียง (Elocution) โดยปู่ ลุง และพ่อของเบลล์ ล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา ภายหลังต่อมาได้มีการเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิดาของเบลล์ (อเล็กซานเดอร์ เมลวิลล์ เบลล์) ได้ผลิตงานวิจัยสำคัญได้แก่ การประดิษฐ์ระบบการออกเสียง[1] (Visible Speech) โดยเป็นการศึกษาและออกแบบระบบแสดงวิธีการออกเสียงพูดของมนุษย์ โดยใช้สัญลักษณ์ในการแทนการเคลื่อนไหว ปาก ลิ้นและลำคอ เป็นงานวิจัยซึ่งมีส่วนอย่างมากในการช่วยการพูดสำหรับบุคคลหูหนวก และต่อมาในภายหลัง เบลล์ได้นำมาปรับปรุงเพื่อช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถอ่านริมฝีปากของผู้พูดเพื่อทำความเข้าใจกับคำพูด
เกลล์แฮม เบลล์ได้รับการศึกษาที่โรงเรียน Royal High School เมืองเอดินบะระ หลังจากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งที่ Weston House Acedamy ในตำแหน่งผู้ช่วยสอนในสาขาการออกเสียงและดนตรี ที่เอลกิน ในมอเรย์ไชน์ หลังจากนั้น เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเอดินบะระ. จากนั้นในปี ค.ศ. 1866 ถึงปี ค.ศ. 1867 ได้เข้าเป็นผู้บรรยายที่มหาวิทยาลัย Somersetshire เมืองบาร์ทประเทศอังกฤษ. ระหว่างที่ยังอยู่ที่สกอตแลนด์ได้เบนความสนใจไปยังส่วนของงาน Acoustic เพื่อมีส่วนช่วยในความหูหนวกของมารดา
ในปี 1870 เขาได้ติดตามครอบครัวไปยังแคนนาดา โดยพำนักที่เมือง Brentford, Ontargio โดยก่อนย้ายออกจาก Scottland เบลล์ได้เริ่มให้ความสนใจกับโทรศัพท์ และในแคนนาดา ได้ให้ความสนใจกับอุปกรณ์การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนาเปียโน ซึ่งสามารถส่งเสียงดนตรี ผ่านสัญญาณไฟฟ้าได้สำเร็จ และปี 1882 เขาโอนสัญชาติเป็นอเมริกัน
การประกาศสิทธิบัตรโทรศัพท์
เบลล์ได้จดสิทธิบัตรโทรศัพท์เป็นสิทธิของตนในสหรัฐอเมริกา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1876 และเป็นเหตุอันน่าบังเอิญเหลือเกินที่ได้มีการจดสิทธิบัตร โดย เอลิช่า เกรย์ (Elisha Gray) ในวันเดียวกัน โดยเป็นการจดสิทธิบัตรภายหลังจากเบลล์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
เครื่องส่งสัญญาณของเกรย์ถูกออกแบบโดยใช้อุปกรณ์แบบเก่า ซึ่งถูกเรียกว่า lovers telephone โดยมีวงจรสองวงจรถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
เครื่องตรวจจับโลหะ
เบลได้รับการยกย่างว่าเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องตรวจจับโลหะในปี 1881 อุปกรณ์ชนิดนี้ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างรีบร้อนเพื่อใช้ในการค้นหาปลอกกระสุนในร่างของประธานาธิบดี เจมส์ กาลฟิลด์ อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถทำงานได้ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถค้นพบปลอกกระสุนได้ก็ตาม
การทดลองอากาศยาน
เบลล์ได้ให้ความสนใจทางด้านอากาศยานและเป็นผู้สนับสนุนในงานวิจัยทางด้านนี้ ผ่านทางสมาคม Aerial Experiment โดยเป็นสมาคมซึ่งจัดตั้งที่ Baddeck, Nova Scotia เมื่อเดือนตุลามคม 1907 จากการแนะนำของนาง มาเบล เบลล์ รวมถึงการสนับสนุนทางด้านการเงิน โดยการนำของตัวเบลล์เอง ร่วมกับสมาชิก 4 คน ได้แก่ American Glenn H. Curtiss เจ้าของบริษัทผลิตมอเตอร์ไซค์ ซึ่งภายหลังได้รับรางวัล Scientific American Trophy จากรางวัลการบินมากกว่า 1 กิโลเมตรครั้งแรก และภายหลังเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน F.W. (Casey) Baldwin , J.A.D. McCurdy; and Lieutenant Thomas Selfridge ผู้สังเกตการณ์จากรัฐบาล ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประดิษฐ์ aileron หรืออุปกรณ์หลักส่วนหนึ่งของเครื่องบินในปัจจุบัน
หน่วยวัดเสียง:เบลและเดซิเบล
เบล เป็นหน่วยวัดซึ่งใช้ชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ โดยหน่วยวัดนี้ใช้ในการวัดความดังของความเข้มเสียง หรือ ระดับพลังงานของเสียง โดย เดซิเบล เป็นหน่วยวัดซึ่งเทียบระดับพลังงานของเสียงในระดับของกำลังกับเสียงเบาที่สุดที่มนุษย์ได้ยิน
...อ้างอิง http://sz4m.com/b723842